ผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับ ในการทำงานกะของพนักงานแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง

ผู้แต่ง

  • อังศุมาลิน แก้วบุตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประมุข โอศิริ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฝนทิพย์ พงษ์สิน ภาควิชาเทคโนโลยีสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

การทำงานกะ, คุณภาพการนอน, อาการนอนไม่หลับ, พนักงานแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของคุณภาพการนอนหลับกับการทำงาน กะของพนักงานแก้กระแสไฟฟ้ าขัดข้องในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากพนักงานแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง จำนวน 210 คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานแก้กระแสไฟฟ้ าขัดข้องทุกคนเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 31.68+8.27 ปี มีประสบการณ์การทำงานกะเฉลี่ย เท่ากับ 4.48+3.06 ปี ลักษณะรูปแบบการทำงานกะส่วนใหญ่แบบ เช้า–เช้า–บ่าย–บ่าย–ดึก–ดึก–พัก–พัก ร้อยละ 60.0 ผลกระทบด้านสุขภาพส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ร้อยละ 53.8 และมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ร้อยละ 46.2 พนักงานแก้กระแสไฟฟ้ าขัดข้องส่วนใหญ่ไม่มีอาการนอนไม่หลับ ร้อยละ 70.8 รองลงมามีอาการนอน ไม่หลับระยะเริ่มแรก ร้อยละ 26.2 มีอาการนอนไม่หลับระดับปานกลาง ร้อยละ 2.6 และมีอาการนอนไม่หลับระดับ รุนแรง ร้อยละ 0.5 พนักงานแก้กระแสไฟฟ้ าขัดข้องส่วนใหญ่มีความง่วงนอนระดับปกติ ร้อยละ 43.1 รองลงมามี ความง่วงนอนระดับเล็กน้อย ร้อยละ 42.6 มีความง่วงนอนระดับปานกลาง ร้อยละ 11.7 และมีความง่วงนอนระดับ สูงมาก ร้อยละ 2.5 และพบว่า ประสบการณ์ทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.031, r=-0.173) ประสบการณ์การทำงานกะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการนอนไม่ หลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.035, r=0.164) ลักษณะการทำงานกะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพ การนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.039) ดังนั้น ผลการศึกษาจะนำไปสู่แนวทางการเฝ้ าระวัง ทางสุขภาพการทำงานกะ และแนวทางการวางแผนโครงการต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ