ผลการพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ชัยรัตน์ ลำโป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
  • อังคณา วังทอง โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  • อนุชิต วังทอง โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, การบูรณาการ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัด ปัตตานี เป็นการวิจัยและพัฒนา รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตและเชิงคุณภาพ โดยการ สนทนากลุ่มผ่านการถอดบทเรียนแบบมีส่วนร่วม ระยะเวลาศึกษา 8 ปี (2557-2564) ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์และระบบบริการสุขภาพ พบปัญหาใน 2 ประเด็นคือ (1) ด้านระบบบริการสุขภาพ และ (2) ด้านผลลัพธ์การดูแลสุขภาพ ซึ่งใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการวิจัย ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาระบบบริการ สุขภาพต่อคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดปัตตานี ตามแนวคิดบ้านเล็กในป่ าใหญ่ ที่มีรูปแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ (1) ผลการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตประชาชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ ในระดับดี และ (2) การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนตามกลุ่มวัย จังหวัดปัตตานี ได้องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม และระยะที่ 3 ระยะหลังการ พัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดปัตตานี แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ (1) ผลการศึกษา คุณภาพชีวิตประชาชนตามกลุ่มวัย จังหวัดปัตตานี พบว่า ทุกกลุ่มวัยมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นและมีความ แตกต่างกัน (p<0.05) และ (2) ผลการศึกษาการรับรู้ของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า การรับรู้ คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับการรับรู้คุณภาพชีวิตรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ควรบูรณาการการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม จะช่วยให้ระบบบริการสุขภาพ สามารถเกิดขึ้นจริงในชุมชนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ