การดำเนินงานของพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ภายใต้ระบบการบริการ ที่เป็นมิตรสำหรับประชากรต่างด้าว

ผู้แต่ง

  • สตพร จุลชู มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • พิกุลแก้ว ศรีนาม มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • มธุดารา ไพยารมณ์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • วาทินี คุณเผือก มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • นารีรัตน์ ผุดผ่อง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ชลบุรี
  • ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว, อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว, ระบบการบริการที่เป็นมิตรสำหรับประชากร ต่างด้าว, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นประเทศปลายทางทีสำคัญของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ประชากรเหล่านี้มักพบปัญหาในการเข้าถึงบริการสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านความแตกต่าง ทางด้านวัฒนธรรมและภาษา มีการจัดระบบการบริการทีเป็นมิตรสำหรับประชากรต่างด้าว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การทำงาน ของพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ซึ่งมีการดำเนินการมาอย่างเป็น ทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2546 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การทำงานของ พสต. และ อสต. ภายใต้ บริบทของระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับประชากรต่างด้าว จากมุมมองและทัศนคติของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผ่านกรณีศึกษาของสองจังหวัดที่มีคนต่างด้าวอาศัยอยู่ค่อน ข้างหนาแน่น ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงร่วมกับวิธีสโนว์บอล เป็นการเก็บข้อมูลในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำนินงาน พสต. และ อสต. จำนวน 50 คน โดยทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีแก่นสาระแบบนิรนัย ผลการศึกษาพบว่า พสต. และ อสต. มีส่วนสำคัญในการช่วย ลดปัญหาการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันระหว่างผู้รับบริการที่เป็นคนต่างด้าวกับบุคลากรสาธารณสุข การฝึกอบรมเพื่อ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจทางด้านสุขภาพและการฟื้ นฟูความรู้ทั้ง พสต. และ อสต. ใช้หลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก บทบาทหน้าที่ของ อสต. เน้นที่การทำงานกับชุมชน และไม่ได้รับค่าตอบแทน ส่วนของ พสต. เน้นที่การแปลภาษาโดยมีค่าจ้างรายวัน ในเรื่องปัญหาการทำงาน พบว่า อสต. มักประสบกับปัญหาการจัดสรรเวลา ในการทำงานและการคงอยู่ในระบบ ส่วน พสต. พบปัญหาเรื่องการได้รับค่าจ้างและสวัสดิการไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผล มาจากการขาดนโยบายที่เป็นเอกภาพจากส่วนกลาง ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการ พิจารณากำหนดมาตรการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน รวมถึงสวัสดิการอื่นๆ และปรับรูปแบบการจ้างและอัตราจ้าง ให้สามารถแข่งขันกับตลาดแรงงาน มีการกำกับติดตามการทำงานจากส่วนกลางโดยร่วมมือกับทางพื้นที่ให้มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2