การประเมินผลการเลือกใช้การผ่าตัดในการรักษา carotid-cavernous fistula ที่เกิดจากอุบัติเหตุ

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ไชยบุตร โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดอัดคาเวอร์นัสไซนัส, อุบัติเหตุ, ช่องเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงคาโรติดกับคาเวอร์นัสไซนัส

บทคัดย่อ

การมีช่องเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงคาโรติดกับคาเวอร์นัสไซนัส (carotid-cavernous fistula) ที่เกิดจาก อุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้ภายหลังจากได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ การรักษาโดยเร็วมีความจำเป็นเพื่อป้ องกันไม่ให้อาการเป็น มากขึ้น และป้ องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรง การเข้าถึงการรักษาโดย neurovascular intervention ซึ่งเป็นการรักษาที่แนะนำให้เลือกเป็นอันดับแรก ยังจำกัดมาก เนื่องจากประเทศไทยยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้น้อย อยู่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่ วย carotid-cavernous fistula ที่เกิดจากอุบัติเหตุด้วยวิธี การผ่าตัดที่มีเป้ าหมายให้เกิดลิ่มเลือดแบบสะสมขึ้นใน cavernous sinus โดยศึกษาจากข้อมูลจากเวชระเบียนของ ผู้ป่ วยที่มี carotid-cavernous fistula ที่เกิดจากอุบัติเหตุ และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในโรงพยาบาลราชบุรี ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2553 ถึง 2562 การผ่าตัดโดยการเลือกบริเวณอัด cavernous sinus ให้แน่น มีเป้ าหมายชักนำ ให้เกิดลิ่มเลือดและมีอุดกั้น carotid-cavernous fistula ตามมา มีการประเมินอาการแสดงทางด้านคลินิก และวินิจฉัย ทางด้านภาพรังสี ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด โดยมีระยะการเฝ้ าติดตามผู้ป่ วยอย่างน้อยสองปี ในช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึง 2562 มีผู้ป่ วย carotid-cavernous fistula ที่เกิดจากอุบัติเหตุ จำนวน 12 ราย ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดใน โรงพยาบาลราชบุรี ผู้ป่ วย 2 รายไม่ได้รับการนับรวมในการศึกษานี้เนื่องจากระยะการเฝ้ าติดตามไม่ครบ 2 ปี ผู้ป่ วย 1 ราย มีพยาธิสภาพ carotid-cavernous fistula ทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่ วยทุกรายมีอาการแสดงเฉพาะ 3 อย่าง คือ เยื่อบุตา บวม ตาโปน และมีเสียงฟู่ ที่เบ้าตา บางรายมีอาการสูญเสียการเคลื่อนไหวลูกตา หรือมีการมองเห็นบกพร่องร่วมด้วย การผ่าตัดทำให้เกิดการปิดกั้น carotid-cavernous fistula ได้ทันทีหลังผ่าตัดจำนวน 4 ราย และมีการปิดกั้นในภาย หลังจำนวน 7 ราย โดยทีอาการทางตาภายนอกส่วนใหญ่หายไปภายใน 1 สัปดาห์ การสูญเสียการเคลื่อนไหวของลูกตา ่ กลับมาเป็นปกติในช่วง 3 ถึง 17 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ผู้ป่ วย 2 รายยังมีการมองเห็นที่บกพร่องบางส่วน ทุกราย หลอดเลือดแดง internal carotid ยังคงปกติ ไม่มีการตีบตัน และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ การผ่าตัดเลือกบริเวณอัด cavernous sinus ให้แน่นในผู้ป่ วยcarotid-cavernous fistula ที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ผลดี และปลอดภัย ควรพิจารณา เป็นการรักษาทางเลือกในกรณีที่การรักษาด้วย neurovascular intervention ไม่สามารถทำได้ หรือผู้ป่ วยไม่สามารถ เข้าถึงได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ