อัตราการเกิดซ้ำของต้อเนื้อภายหลังการผ่าตัดรักษาต้อเนื้อและปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุตาของผู้ป่วยร่วมกับการรักษาเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้เยื่อบุตาก่อนการผ่าตัดรักษาและภายหลังการผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยอายุน้อย

ผู้แต่ง

  • มงคล คณินการัณยภาส แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

อายุน้อย, อาการเยื่อบุตาอักเสบจากภาวะภูมิแพ้, การผ่าตัดต้อเนื้อ, การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุตาของผู้ป่วย, อัตราการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ

บทคัดย่อ

การรักษาต้อเนื้อด้วยการผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยอายุน้อย ผลการรักษาพบอัตราการกลับเป็นซ้ำในระดับสูง จักษุแพทย์ไม่แนะนำการผ่าตัดรักษา เนื่องจากอัตราการกลับเป็นซ้ำสูง แต่ผู้ป่วยต้องการการผ่าตัดรักษา เนื่องจากปัญหาด้านความสวยงาม ในการรักษาต้อเนื้อของผู้ป่วยอายุน้อย ผลลัพธ์ของการรักษาดี หากสามารถ ควบคุมอัตราการกลับเป็นซ้ำได้ วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อศึกษาอัตราการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อภายหลังการ ผ่าตัดรักษา ใน 1 ปี โดยใช้การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุตาของผู้ป่วย ร่วมกับการรักษาภูมิแพ้ของเยื่อบุตาก่อนและ หลังการผ่าตัดรักษาด้วยยาหยอดตาของผู้ป่ วยอายุน้อย วิธีการศึกษา ศึกษาแบบไปข้างหน้าเชิงพรรณนา โดย รวมรวมข้อมูลจากประวัติและตรวจร่างกาย ผู้ป่ วยชายและหญิงอายุน้อย อายุ 15-35 ปี ช่วง มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่มีต้อเนื้อและเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ของเยื่อบุตาผู้ป่วยเป็นต้อเนื้อปฐม ภูมิ ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาภูมิแพ้ของเยื่อบุตาก่อนและหลังการผ่าตัดรักษา โดยใช้ยาหยอดตาสำหรับการ รักษาเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ของเยื่อบุตา ผลการศึกษารวบรวมผู้ป่ วยต้อเนื้อชนิดปฐมภูมิ 40 ตา จากผู้ป่ วย 40 คน อายุระหว่าง 17-35 ปี (อายุเฉลี่ย 29.40 ปี SD±4.70) ผู้ป่ วย 5 คนถูกตัดออกจากการศึกษาเนื่องจาก ขาดการติดตามการรักษา อาการภูมิแพ้ของเยื่อบุตาที่พบบ่อยของการศึกษาคือ ระคายเคืองตา (ร้อยละ 100.00) แสบตา (ร้อยละ 82.85) และคันตา (ร้อยละ 82.85) ภาวะแทรกซ้อนทีพบบ่อยของการศึกษาคือ ่ เนื้อเยื่อบุตาบวม (ร้อยละ 28.57) และมีก้อนอักเสบของเยื่อบุตา (ร้อยละ 14.28) การศึกษา พบการกลับเป็น ซ้ำ ร้อยละ 5.71 ภายหลังการผ่าตัดรักษาในระยะเวลา 1 ปี การศึกษานี้ แสดงให้เห็นการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ ในอัตราต่ำ ภายหลังการรักษาต้อเนื้อ ด้วยวิธีผ่าตัดรักษาต้อเนื้อ โดยใช้การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุตาของผู้ป่วย ร่วมกับการรักษาภูมิแพ้ของเยื่อบุตาก่อนและหลังการผ่าตัดรักษาด้วยยาหยอดตาสำหรับการรักษาเยื่อบุตา อักเสบจากภาวะภูมิแพ้ของเยื่อบุตาในผู้ป่ วยอายุน้อย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Dushku N, John MK, Schultz GS, Reid TW. Pterygia pathogenesis: corneal invasion by matrix metalloproteinase expressing altered limbal epithelial basal cells. Arch Ophthalmol 2001;119(5):695–706.

Aspiotis M, Tsanou E, Gorezis S. Angiogenesis in pterygium: study of microvessel density, vascular endothelial growth factor, and thrombospondin-1. Eye 2007;21(8):1095-101.

Kase S, Osaki M, Jin XH. Increased expression of erythropoietin receptor in human pterygial tissues. Int J Mol Med 2007;20(5):699–702.

Tsai YY, Chiang CC, Yeh KT, Lee H, Cheng YW. Effect of TIMP-1 and MMP in pterygium invasion. Invest Ophthalmol Vis Sci 2010;51(7):3462–7.

Liang K, Jiang Z, Ding BQ, Cheng P, Huang DK, Tao LM. Expression of cell proliferation and apoptosis biomarkers in pterygia and normal conjunctiva. Mol Vis 2011;17:1687–93.

Coroneo MT. Pterygium as an early indicator of ultraviolet insolation a hypothesis. Br J Ophthalmol 1993;77(1): 734-9.

Reid TW, Dushku N. Does human papillomavirus cause pterygium. Br J Ophthalmol. 2003;87(7):806–8.

Di Girolamo N. Association of human papilloma virus with pterygia and ocular-surface squamous neoplasia. Eye 2012;26(2):202–11.

Detorakis ET, Drakonaki EE, Spandidos DA. Molecular genetic alterations and viral presence in ophthalmic pterygium. Int J Mol Med 2000;6(1):35–41.

Cárdenas-Cantú E, Zavala J, Valenzuela J, Valdez-García JE. Molecular basis of pterygium development. Semin Ophthalmol 2016;31(6):567–83.

Di Girolamo N, Chui J, Coroneo MT, Wakefield D. Pathogenesis of pterygia: role of cytokines, growth factors, and matrix metalloproteinases. Prog Retin Eye Res 2004;23(2):195–228.

Di Girolamo N, Kumar RK, Coroneo MT, Wakefield D. UVB-mediated induction of interleukin-6 and -8 in pterygia and cultured human pterygium epithelial cells. Invest Ophthalmol Vis Sci 2002;43(11):3430–7.

Siak JJK, Ng SL, Seet LF, Beuerman RW, Tong L. The nuclear-factor KB pathway is activated in pterygium. Invest Ophthalmol Vis Sci 2011;52(1):230–36.

Pinkerton OD, Hokama Y, Shigemura LA. Immunologic basis for the pathogenesis of pterygium. Am J Ophthalmol 1984;98(2):225–8.

Anguria P, Kitinya J, Ntuli S, Carmichael T. The role of heredity in pterygium development. Int J Ophthalmol 2014;7(3):563–73.

Mohammed I. Treatment of pterygium. Ann Afr Med 2011;10(3):197–203.

Khan N, Ahmad M, Baseer A, Kundi NK. To compare the recurrence rate of pterygium excision with bare-sclera, free conjunctival auto graft and amniotic membrane grafts. Pak J Ophthalmol 2010;26(3):138-42.

Anguria P, Ntuli S, Carmichael T. Young patient’s age determines pterygium recurrence after surgery. Afr Health Sci 2014;14(1):72–6.

Hovanesian JA, Starr CE, Vroman DT. The ASCRS cornea clinical committee surgical techniques and adjuvants for the management of primary and recurrent pterygia. J Cataract Refract Surg. 2017;43(3):405–19.

Han SB, Jeon HS, Kim M, Lee SJ, Yang HK, Hwang JM. Risk factors for recurrence after pterygium surgery: an image analysis study. Cornea 2016;35(8):1097- 103.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง