การเปรียบเทียบผลของการฝึกเดิน ระหว่างการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน กับการฝึกเดินด้วยการกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • มณฑิชา ม่วงเงิน สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • บุษกร โลหารชุน สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ชุติภา วรฤทธานนท์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐชา ศัตรูพินาศ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ภคอร สายพันธ์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สาริณี แก้วสว่าง สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, การฝึกเดิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินกับการฝึกเดินด้วย การกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบ ในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกอายุ 18-75 ปี มีอาการของโรคมากกว่า 1 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี สามารถเดิน ได้โดยที่ได้คะแนน Functional Ambulatory Category; FAC ≥2 อาสาสมัครถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งสองกลุ่มได้ รับการฝึกการออกกำลังกายพื้นฐาน เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นกลุ่มทดลองได้รับการฝึกเดินบนเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน เป็นเวลา 30 นาที กลุ่มควบคุมจะได้รับการฝึกเดินบนทางราบโดยการควบคุมของนักกายภาพบำบัดเป็นเวลา 30 นาที ฝึกด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวม 12 ครั้ง ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test และ Mann Whitney U test ผลการศึกษา พบอาสาสมัครจำนวน 62 คนที่เข้าร่วมครบ 4 สัปดาห์ (กลุ่มละ 31 คน) หลังฝึกพบว่า ตัววัดผลหลัก คือ ความเร็ว ในการเดิน และตัววัดผลรอง คือ ระดับการทรงตัวโดยแบบทดสอบ Berg balance scale (BBS) ระดับการฟื้ นตัวของ ผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองโดยแบบทดสอบ National Institute of Health Stroke Scale, Thai version (NIHSS-T) และระดับความสามารถในการเดิน (Functional Ambulatory Category: FAC) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p>0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ระหว่างการฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินกับการฝึกเดินด้วยการ กายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมมีผลเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเดิน การทรงตัวและความสามารถในการเดินได้ไม่ต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ