ระบาดวิทยาของการฆ่าตัวตายในประเทศไทย พ.ศ.2562 - พ.ศ.2563

ผู้แต่ง

  • ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การฆ่าตัวตาย, ระบาดวิทยา, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และวิเคราะห์เปรียบเทียบจำนวนการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายใน พ.ศ. 2562 และ 2563 และศึกษามาตรการการป้ องกันการฆ่าตัวตายในประเทศไทย เป็นการศึกษาแบบ ผสมผสานในรูปแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย ในส่วนของการศึกษาเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตด้วยสถิติ independent t-test ในส่วนของการศึกษาเชิงคุณภาพ ประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การวิเคราะห์ผลเชิงเนื้อหา ผล การศึกษาพบว่า ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในประเทศไทยเพิ่มขึ้น (จาก 3,698 เป็น 4,440 ราย) เพศชายเสียชีวิต มากกว่าเพศหญิง (4:1) ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่เป็นเพศชายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุที่อายุน้อยกว่า 25 ปี (p<0.05) สถานภาพสมรส คู่ หม้าย หย่า/แยก มีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น (p<0.05) อาชีพรับจ้าง/ทำงานเอกชนมีการ เสียชีวิตเพิ่มขึ้น (p<0.05) เขตสุขภาพที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ เขตสุขภาพที่ 1 วิธีการที่ใช้ในการฆ่าตัวตาย มากที่สุด คือ การผูกคอ รองลงมาคือ การกินสารกำจัดวัชพืชและการใช้ปืน กลุ่มที่มีปัญหาตกงานและกลุ่มที่มีภาระ หนี้สินมีการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น (p<0.05) การดำเนินงานเฝ้าระวังและป้ องกันการฆ่าตัวตายมีการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง เพื่อป้ องกันการฆ่าตัวตายตั้งแต่ พ.ศ. 2544 แต่การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ยังเป็นการวิเคราะห์ในส่วนกลางและ ระดับเขตโดยกรมสุขภาพจิตและศูนย์สุขภาพจิต ยังขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับจังหวัด การดำเนินงานในช่วงที่ ผ่านมาส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกรมสุขภาพจิตแต่ยังขาดการสนับสนุนทางนโยบายและการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการป้ องกันการฆ่าตัวตาย การบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงเป็นการบ่งชี้แบบทั่วไปจากส่วนกลางยังขาดการวิเคราะห์ ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงในระดับจังหวัด กลุ่มเป้ าหมายที่มีการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นที่ต้องมีมาตรการป้ องกัน การฆ่าตัวตายเพิ่มเติมคือกลุ่มเพศชายที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี และกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพสมรส ข้อเสนอ เชิงนโยบาย (1) ควรกำหนดให้ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ โดยมีแผนการป้ องกันการฆ่า ตัวตายระดับประเทศทีทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วม (2) ควรจัดให้มีระบบการเฝ้าระวัง ่ และค้นหาความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับจังหวัด พร้อมทั้งกำหนดมาตรการการป้ องกันการฆ่าตัวตายที่เหมาะสม กับพื้นที่ (3) ควรมีมาตรการการป้ องกันการฆ่าตัวตายในประชาชนที่อายุน้อยกว่า 25 ปีที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยที่เป็น นักเรียน นักศึกษา (4) ควรมีมาตรการการป้ องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพสมรส (5) ควรมีการบูรณาการภารกิจและการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพื่อออก มาตรการทีสอดคล้องและให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้ที ่ มีความเสี ่ ยงต่อการฆ่าตัวตาย (6) ควรนำเทคโนโลยี- ดิจิทัล เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการเฝ้ าระวัง ค้นหา ตรวจจับสัญญานการขอความช่วยเหลือและแจ้งเตือน เพื่อป้ องกันการฆ่าตัวตายในสื่อสังคมออนไลน์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ