รูปแบบการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 และคุ้มครองสิทธิประชาชนในวิถีปกติใหม่ โดยชุมชนเสมือนจริงของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รุ่งเรือง กิจผาติ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • จุฬาพร กระเทศ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ขวัญชัย นุชกลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • รุ่งเรือง แสนโกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ระบบเฝ้าระวัง, การป้องกันควบคุมโรค COVID-19, คุ้มครองสิทธิประชาชน, ชุมชนเสมือนจริง, เครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 และคุ้มครองสิทธิประชาชนในวิถีปกติใหม่โดยชุมชนเสมือนจริงของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัดมหาสารคาม วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 ใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างชุมชนเสมือนจริงและขยายผลในกลุ่มเป้ าหมาย 750 คน แล้ววิเคราะห์เนื้อหาสร้างสมมติฐานเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 2 สำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างสมาชิกชุมชนเสมือนจริงฯ มีกลุ่มตัวอย่าง 254 คน เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และระยะที่ 3 ประเมินยืนยันและสร้างรูปแบบการพัฒนาระบบ เฝ้ าระวังฯ ที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า ระดับความ สำเร็จการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังฯ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.65 ปัจจัย เงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังฯ ได้แก่ ปัจจัยด้านการสื่อสารสาธารณะ ด้านการมีส่วน ร่วมกับมาตรการของภาครัฐ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความคาดหวังต่อประโยชน์ที่จะได้รับ และด้านความ พร้อมการตอบโต้สถานการณ์โรคระบาดของหน่วยบริการสุขภาพ โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 5 ตัวแปร มีค่าถดถอย พหุคูณ เท่ากับ 0.787 สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความสำเร็จการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังฯ ได้ร้อยละ 60.9 (R2 =.609, F=194.641) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลตรวจสอบยืนยันรูปแบบการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังฯ ที่เหมาะสม จากข้อค้นพบการวิจัย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ (1) องค์ประกอบความสำเร็จการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังฯ มี 5 องค์ประกอบหลัก 35 องค์ประกอบย่อย และ (2) องค์ประกอบปัจจัยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อความ สำเร็จการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังฯ มี 5 องค์ประกอบหลัก 42 องค์ประกอบย่อย โดยองค์ประกอบของรูปแบบการ พัฒนามีความเหมาะสมเป็นไปได้อยู่ในระดับสูง สามารถนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเตรียมความพร้อมพัฒนา ศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในวิถีปกติใหม่ของประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้