การประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี”

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
  • สุจิตตา ทักขะทิน กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ครอบครัวมั่นคง, สังคมสุขภาพดี, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, การเกื้อกูลจากชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัด-ต้นแบบ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” ก่อนและหลังการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาครอบครัวเป้ าหมายในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ พะเยาและ ระยอง ทั้งมิติด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ โดยเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ ครัวเรือนจำนวน 60 ครัวเรือน ในพื้นทีอำเภอเขตเมืองและไม่ใช่อำเภอเขตเมือง เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลการใช้บริการสุขภาพด้วยสถิติจำนวนและร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูล ความรอบรู้ทางสุขภาพด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความรอบรู้ทางสุขภาพก่อนและ หลังการดำเนินโครงการฯ ด้วยสถิติ paired sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเกื้อกูล จากชุมชน ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเกื้อกูลจาก ชุมชนก่อนและหลังการดำเนินโครงการฯ ด้วยสถิติ paired sample t-test ผลการศึกษาพบว่า (1) ก่อนดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ด้านการเข้าถึงข้อมูลในระดับปานกลาง ด้านความเข้าใจเรื่องสุขภาพ ด้าน การตัดสินใจ ด้านการซักถามและด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ภายหลังการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05 (2) มิติด้านสังคม ่ พบว่า ภายหลังการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างใน 2 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์และพะเยา มีค่าความสัมพันธ์ในครอบครัว เพิ่มขึ้น ยกเว้น ระยอง ที่มีค่าความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลงเล็กน้อย และในส่วนการเกื้อกูลจากชุมชน พบว่า ระยอง และพะเยาเพิ่มขึ้น หลังดำเนินโครงการ ยกเว้น บุรีรัมย์ที่มีการเกื้อกูลจากชุมชนลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้ มีเพียง บุรีรัมย์ที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเกื้อกูลจากชุมชนแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ (1) การสนับสนุนทางนโยบายเรื่องการพัฒนาครอบครัวแบบมุ่งเป้ า (2) กลไกการเชื่อมโยงกับ คณะกรรมการในพื้นที เช่น พชอ. หรือคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความยากจน (3) การดำเนินการร่วมกับ ทีมหมอครอบครัว หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ (4) การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครที่เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (5) บทบาทหน้าทีขององค์กร- ่ ปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการติดตามและขยายผล (6) การบูรณาการฐานข้อมูลครอบครัวกลุ่มเปราะบาง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (7) การพัฒนาเจตคติและกรอบความคิดของผู้ปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้