การประเมินยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2560 – 2564

ผู้แต่ง

  • กนิน ธีระตันติกานนท์ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข
  • กมนชนก บุญสิทธิ์ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข
  • วรรณพร ผือโย สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข
  • เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การประเมิน, ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ, การป้องกันควบคุมโรค

บทคัดย่อ

กรมควบคุมโรคมียุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการป้ องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะที 1 ่ (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงาน จึงได้มีการศึกษาเพื่อประเมินการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ดังกล่าว และนำข้อมูลที่ได้มาเตรียมการสำหรับยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครอบคลุมทุก ยุทธศาสตร์ นำมาประเมินโดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานส่วนภูมิภาคจากการสุ่มตัวอย่างจังหวัดชายแดน และการตอบคำถามแบบประเมินทางระบบออนไลน์ด้วยตนเองโดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลางของ กรมควบคุมโรค ผลการประเมินดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพองค์กร บุคลากรด้านความร่วมมือระหว่าง ประเทศ พบว่ามีการบูรณาการทำงานกับหน่วยงานหลายภาคส่วน และทุกชายแดนสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ การ พัฒนาบุคลากรส่วนใหญ่มุ่งเป้ าที่การพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามและผู้เชี่ยวชาญด้านการป้ องกันควบคุมโรคใน ระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ นวัตกรรม และเทคโนโลยี พบว่าส่วนภูมิภาค มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศความร่วมมือระหว่างประเทศมาใช้ปฏิบัติงาน ในขณะทีส่วนกลางจะมีการจัดทำชุดความรู้ หลายภาษา และเทคโนโลยีที่สนับสนุนการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาบทบาทนำระดับนานาชาติ และขับ เคลื่อนข้อตกลงระหว่างประเทศ พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการประชุมระดับทวิภาคี พหุภาคี และนานาชาติ มี การผลักดันในการนำนโยบาย ข้อตกลงระหว่างประเทศ และบันทึกข้อตกลงเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานระหว่าง ประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ พบว่า มีทำเนียบและการพัฒนาเครือข่าย ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ เมื่อวิเคราะห์ในรูปแบบการกำหนดคะแนน พบว่าผลการประเมินระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไม่มีความแตกต่างกัน มีข้อคิดเห็นร่วมกัน ได้แก่ (1) การอบรมทักษะที่จำเป็นแก่การปฏิบัติ งานเพิ่มขึ้น (2) เสนอให้มีกลุ่มงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศระดับเขต รวมทั้งเพิ่มอัตรากำลัง (3) เสนอให้มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานความร่วมมือระหว่างประเทศ และให้ส่วนกลางบูรณาการโปรแกรม ร่วมกัน (4) กำหนดผู้ประสานงานหลักระหว่างประเทศในระดับจังหวัด และปรับปรุงข้อมูลทุกปี และ (5) ผู้บริหาร จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้