การศึกษาประสิทธิผลของอุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์ทรวงอก
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, อุปกรณ์ช่วยยึด, เอกซเรย์ทรวงอกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของอุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์ทรวงอก และประเมิน ความพึงพอใจของญาติ ในการใช้อุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจง ประกอบด้วย (1) เด็กอายุ 3-4 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า ต้องได้รับการเอกซเรย์ทรวงอก จำนวน 30 คน (2) ญาติหรือผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการเอกซเรย์ทรวงอก จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการศึกษาตุลาคม 2563–มกราคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) อุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็ก เอกซเรย์ทรวงอก (2) แบบประเมินประสิทธิผลของอุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์ทรวงอก (3) แบบสอบถามความ พึงพอใจของญาติ ในการใช้อุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์ทรวงอก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระยะเวลาการถ่ายรังสีทรวงอกเด็ก เฉลี่ย 5 นาที/คน (2) ไม่มีการถ่ายภาพเอกซเรย์ซ้ำ และมีความชัดเจนแม่นยำ (3) ไม่ต้องใช้ญาติมาช่วยจับเด็ก ลดความเสี่ยงในการ ได้รับรังสีโดยไม่จำเป็นกับญาติ (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของญาติ ในการใช้อุปกรณ์ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์- ทรวงอก พบว่า เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง (Mean=4.57, SD=0.50) ในส่วนของประสิทธิผลของอุปกรณ์ ช่วยยึดจับเด็กเอกซเรย์ทรวงอก (Mean=4.33, SD=0.48) และสามารถให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว (Mean= 4.20, SD=0.55)
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.