ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนจังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
บุหรี่ไฟฟ้า, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, เยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบ บุหรี่ไฟฟ้ าของเยาวชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จำนวน 385 คน ทำการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสถิติถดถอยพหุโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้ า ร้อยละ 72.21 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้ าครั้งแรกคือ 18.28 ปี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้ าของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย เพศ (ORAdt=2.21, 95%CI:1.32-4.55) สถานที่พักอาศัยขณะศึกษา (ORAdt=10.55, 95%CI:3.45-32.22) คนในครอบครัวที่สูบ บุหรี่ไฟฟ้ า (ORAdt=11.21, 95%CI:4.88-25.71) เพื่อนสนิทสูบบุหรี่ไฟฟ้ า (ORAdt=10.48, 95%CI:5.96-19.46) การพบเห็นสื่อโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้ า (ORAdj=3.22, 95%CI: 1.85-5.60) ทัศนคติที่ดีกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้ า (ORAdt= 3.37, 95%CI:1.54-7.35) ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการสูบบุหรี่ไฟฟ้ าของเยาวชนได้ ร้อยละ 35.80 (Pseudo R2 =0.358) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐทีเกี ่ ่ยวข้องควรเร่งพัฒนามาตรการหรือโปรแกรม เสริมสร้างความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อการสูบบุหรี่ไฟฟ้ าของเยาวชน
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง. สถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบ ของประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: เจริญดี- มั่นคงการพิมพ์; 2559.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, วศิน พิพัฒนฉัตร, Harmann S. ภัยร้ายซ่อนเร้นบุหรี่ไฟฟ้ า. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการศึกษาผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทย และข้อเสนอแนะในการ บริการจัดการจากภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง; 2557.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. รายงาน สถานการณ์การบริโภคสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2562.
ศรีรัช ลอยสมุทร. ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในสื่อสังคม เครือข่ายและผลของการบังคับใช้กฎหมายผลิตภัณฑ์ยาสูบ รูปแบบใหม่. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2562; 5:13-30.
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. มาตรการการจำกัดการจำหน่ายบุหรี่ให้ เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษาในเขต เมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2560.
ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ภาวนา เมนทะระ, ปิยชาติ บุญเพ็ญ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและพฤติกรรมต้องการเลิกบุหรี่ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา 2562;11(22): 111-27.
Bloom BS, Engelhart MD, Furst EJ, Hill WH, Krathwohl DR. Taxonomy of educational objectives handbook 1: Cognitive Domain. New York: David Mckay; 1956.
Sutfin EL, McCoy TP, Morrell HE, Hoeppner BB, Wolfson M. Electronic cigarette use by college students. Drug and Alcohol Depence 2013;131(3):214-21.
Wise J. E-cigarette marketing is aimed at youngsters, says charity. BMJ 2013;347:f7124.
Bandura A. Social foundation of thought and action: a social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1986.
Cho JH, Shin, E, Moon SS. Electronic-cigarette smoking experience among adolescents. Journal of Adolescent Health 2011;49(5):542-46.
Green LW, Krueter MW. Health promotion planning: an education and ecological approach. 4th ed. Toronto: Mayfield Publishing Company; 2005.
Grana RA. Electronic cigarettes: a new nicotine gateway?. Journal of Adolescent Health 2013;52(2):135-6.
อุ่นกัง แซ่ลิ้ม. การสำรวจพฤติกรรมและการรับรู้การใช้บุหรี่ไฟฟ้ากรณีของประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55; 31 ม.ค. - 3 ก.พ. 2560; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.