การประเมินนโยบายชายหาดปลอดบุหรี่ ภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เกศริน ขอหน่วงกลาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี
  • สุภาพร พุทธรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี
  • ดารณี จุนเจริญวงศ์ศา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี
  • สุทธิพร บู่ทอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, นโยบายชายหาดปลอดบุหรี่, ภาคตะวันออกของประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการและ (2) ผลการดำเนินงาน ตามนโยบายชายหาดปลอดบุหรี่ ภาคตะวันออกของประเทศไทย ทำการศึกษาเฉพาะกรณี โดยเลือกในพื้นทีที่ ประกาศ เป็นชายหาดนำร่องในภาคตะวันออก ที่อยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และยินยอมให้ทำการ ศึกษา จำนวน 4 แห่ง เก็บข้อมูลเอกสารดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินผล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 17 คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่สุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 261 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า (1) ทั้ง 4 พื้นที่สามารถสรุป การดำเนินงานได้ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1พื้นที่ที่มีการปฏิบัติที่ดี รูปแบบที่ 2 พื้นที่กำลังพัฒนา และรูปแบบที่ 3 พื้นที่ที่ดำเนินงานพื้นฐาน สำหรับรูปแบบที่ 1 พื้นที่ที่มีการปฏิบัติที่ดี นั้นเริ่มจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับนโยบายชายหาดปลอดบุหรี่ กำหนดเป้ าหมายการดำเนินงาน กำกับติดตาม และสั่งการเพื่อ ให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายที่สำคัญประกอบด้วยพี่เลี้ยงวิชาการ เครือข่ายตรวจเตือนและ บังคับใช้กฎหมาย เครือข่ายภาคประชาสังคมและร้านค้าริมหาด มีบทบาทในการเฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน ในพื้นที มีการกำหนดและใช้มาตรการทางสังคม มีการระดมทุนจากภาครัฐและเอกชน มีการประชาสัมพันธ์หลากหลาย ช่องทาง มีการจัดสถานที่จัดเขตปลอดบุหรี่อย่างเพียงพอ มีการจัดสถานที่สูบบุหรี่ครอบคลุมตามกฎหมาย (2) ด้าน ผลผลิต พบว่าผลการดำเนินงานทั้งสามรูปแบบมีค่าคะแนนด้านการตักเตือน มาตรการทางสังคม การบังคับใช้กฎหมาย น้อยสุด สำหรับผลลัพธ์พบว่า รูปแบบที่ 1 มีการรับรู้และทัศคติต่อนโยบายในระดับมาก และ ประสบการณ์การกระ ทำผิด อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่รูปแบบที่ 2 มีการรับรู้ อยู่ในระดับปานกลางและทัศคติต่อนโยบายในอยู่ระดับน้อย และประสบการณ์การกระทำผิด ในระดับปานกลาง และรูปแบบที 3 มีการรับรู้ อยู่ในระดับน้อย และทัศคติต่อนโยบาย ่ ในอยู่ระดับปานกลาง และประสบการณ์การกระทำผิด ในระดับปานกลาง ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของพื้นที่ที่มีการ ปฏิบัติที่ดีคือความมุ่งมั่นในการทำงานของผู้นำการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ชุมชน ร้านค้า สถานประกอบการ และ ภาครัฐ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเริ่มจากผู้นำยอมรับต่อนโยบาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและช่วย พัฒนาบุคลากรสามารถดำเนินงานและบังคับใช้กฎหมายได้ต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Ocean Conservancy. Ocean Conservancy’s fighting for trash free seas [Internet]. [cited 2017 Jun 10]. Available from: https://oceanconservancy.org/trash-free-seas/ plastics-in-the-ocean/trash-free-seas-alliance/

ประชาชาติธุรกิจ. ทช.นำร่อง 24 หาดปลอดบุหรี่ อนาคต คลีนแอร์เสน่ห์เที่ยวทะเลไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 พ.ย.2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.prachachat. net/facebook-instant-article/news-67846

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. คำสั่งที่ 1064/2560 เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบริเณชายหาด. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134, ตอนพิเศษ 369 ง (ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560).

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109, ตอนพิเศษ 40 (ลง วันที่ 7 เมษายน 2535).

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. เริ่มที่ 24 ชายหาดปลอด บุหรี่นำร่องใน 15 จังหวัดชายฝั่ง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ก.ค.2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmcr.go.th/ detailAll/24482/nws/

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. โครงการชายหาดปลอด บุหรี่ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2561]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.dmcr.go.th/detailLib/3490

กลุ่มแผนงานและประเมินผล. สรุปผลการสำรวจความพร้อม ในการดำเนินงานนโยบายชายหาดปลอดบุหรี่ เขตสุขภาพที่ 6. จังหวัดชลบุรี. ใน: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี. ประชุมวางแผนการดำเนินงานประเมิน นโยบายชายหาดปลอดบุหรี่ ภาคตะวันออกของประเทศไทย; 22 มิถุนายน 2560; ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6, จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6; 2560. หน้า 1-28.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www. nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/health/ SmokingDrinking/2017/Full%20Report.pdf

ภัทรรัช เทศถนอม. การละเมิดกฎหมายด้านการโฆษณาและ การส่งเสริมการขาย ตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข 2563;6(ฉบับเพิ่ม เติม):S15-S31.

วิโรจน์ นรชาญ. การสร้างและพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมี ส่วนร่วมสำหรับองค์กรชุมชน ในการจัดการปัญหาการ บริโภคยาสูบ ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [สืบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2562];6(2):13-21. แหล่งข้อมูล: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/ view/252976

ฤทัยรัตน์ รัตนสร้อย. พลวัตทุนทางสังคมกับความเข้มแข็ง ของชุมชน: กรณีศึกษาบ้านจารุงตำบลเนินฆ้ออำเภอแกลง จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพทหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552. 173 หน้า.

อภิสิทธิ์ ศรีพนมพงษ์, สมหญิง จันทรุไทย. ความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเครือข่าย บ้านฉาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรม ท้องถิ่น 2563;6(3):101-9.

ธนะวัฒน์ รวมสุก, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. พยาบาลกับการ จัดการสภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่ในชุมชน. วารสารพยาบาล 2565;71(1):53-62.

ประไพจิตร ชุมแวงวาปี. ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลิกสูบบุหรี่ของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2565];15(1): 43-58. แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index. php/RDHSJ/article/view/256730

ศิริพร จินดารัตน์, ต่วนนุรมา หะมะ, พารีดาห์ ดาโอะ, กีรติ มอลอ, ฤทัยชนนี สิทธิชัย. รูปแบบการเลิกบุหรี่ของผู้นำ ศาสนาอิสลามใน จังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2565];69(1):28- 35. แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ TJN/issue/view/16491

จรวยพร ศรีศศลักษณ์. สถานการณ์แนวทางดำเนินงานปัญหา กฎหมายกฎระเบียบในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัย ระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2565];69(1):28-35. แหล่งข้อมูล: https://kb.hsri.or. th/dspace/handle/11228/4352

รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, เสกสรร ดีชวนะเลิศ, สมคิด เชาว์ช่างเหล็ก, ภัสพร มโนวิวัศ. การถอดบทเรียน โครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่หน่วยจัดการร่วม (NODE) ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2565];8(7):372-89. แหล่งข้อมูล: https://webcache. googleusercontent.com/search?q=cache:vJyiojMrD6IJ:https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/ download/253535/169937/907883&c - d=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์, สุนันทา ทองพัฒน์, เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, วรรณพร บุญเปล่ง, สุดคนึง ฤทธิ์ ฤาชัย, กนิษฐา ถนัดกิจ, และคณะ. การศึกษาความคิดเห็นของแกน นำภาคีเครือข่ายเพื่อการไม่สูบบุหรี่ในการสนับสนุนโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิศไท้องค์ราชัน. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2564;4(3):33-48.

ปราณี เทียมใจ, ปรัชญาพร ธิสาระ. การพัฒนามหาวิทยาลัย ปลอดบุหรี่ต้นแบบ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารพยาบาล 2555;61(1):1-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้