ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะนันท์ เรือนคำ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุคนธา คงศีล ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุขุม เจียมตน ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยุวนุช สัตยสมบูรณ์ ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพ็ญพักตร์ อุทิศ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, PRECEDE- PROCEED model

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และวิเคราะห์ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชากรผู้ใหญ่ ่ อายุ 20-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร จำนวน 274 คน ได้ประยุกต์ ใช้ PRECEDE- PROCEED Model เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามแบบตอบ ด้วยตนเอง โดยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไค-สแควร์ ผลวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 88.45 (M=12.8, S.D.=2.9) เมื่อพิจารณารายข้อ พบประเด็นสำคัญ คือ ประมาณครึ่งหนึ่งมีพฤติกรรมไอ จามโดยไม่ป้ องกัน และมีการ สัมผัสใบหน้า ขยี้ตา แคะจมูก และสัมผัสปาก มีโอกาสนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร้อยละ 23.7 พบ 5 ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ ่ ต่อพฤติกรรมการป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศ สถานภาพ สมรส ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม การวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ ในการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากร โดยสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณสุข และข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ง่ายและรวดเร็ว และสนับสนุนผู้นำชุมชนให้มีส่วนร่วมในการ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทีดีอย่าง ่ ต่อเนื่อง นำไปสู่ผลการปฏิบัติในระยะยาวแบบ New Normal

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การ อนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย 12 มี.ค. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-03-12-tha-sitrep-19-covid19-pb-th. pdf?sfvrsn=1e17 9bd4_2

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและ พัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). รายงานข้อมูล สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ย. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://covid19.nrct.go.th/รายงานข้อมูล สถานการณ์-275/

Okada P, Buathong R, Phuygun S, Thanadachakul T, Parnmen S, Wongboot W, et al. Early transmission patterns of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in travellers from Wuhan to Thailand, January 2020. Euro Surveill 2020;25(8):1-5

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 24 เมษายน 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaigov.go.th /news/contents/ details/29299

ปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ. รวม 5 ผลกระทบโควิด-19 ในปี 2020 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://news.trueid.net/detail/VGJ91QAkKvqN

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. การส่งข้อมูลเพื่อสร้าง การรับรู้สู่ชุมชน ครั้งที่ 11/2563 (ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563). กรุงเทพมหานคร: กองสารนิเทศ; 2563

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย. เลขาธิการ คปภ. ห่วงใยกรณีมีข่าวคนตั้งใจ ติดเชื้อเพื่อหวังเคลมเงินประกันโควิด เตือนอย่าเสี่ยงทำ เพราะอาจเข้าข่ายไม่สุจริตหรือเป็นการฉ้อฉลประกันภัยและ อาจชวดเงินประกัน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: www.oic.or.th /th/consumer/news/ releases/92110

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ , สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ . แนวโน้ม ผลกระทบ และการเตรียมรับมือการระบาดรอบที่สองของ COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(4):765-8.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 1 ง (ลงวันที่ 3 มกราคม 2564).

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. โทรสารในราชการ กระทรวงมหาดไทย 2563 (ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มท. (สนผ.); 2563.

เอชโฟกัส. โควิดกรุงเทพพบ 5 เขต มีผู้ติดเชื้อสูงสุด เร่ง ค้นหาเชิงรุก [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2021/01/20904

สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร. สถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.prbangkok.com /th/covid-today/?Sys_Page=1

ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร. สรุปผลการดำเนิน การสอบสวนโรคและค้นหาผู้ป่ วยเชิงรุก; 12 พฤศจิกายน 2564. กรุงเทพมหานคร; ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร; 2564.

สาโรจน์ นาคจู. พฤติกรรมการป้ องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการ แห่งแปซิฟิ ค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564; 7(3):151-60

กนกพร อนิรภัย, วิรัญญาศรี บุญเรือง, ธนรัตน์ นิลวัฒนา, ศิริโสภา สำราญสุข, ศานสันต์ รักแต่งาม, ปวีณา สปิลเลอร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID19 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2564;10(1):195- 206

พานทิพย์ เเสงประเสริฐ. การสร้างสุขภาพประชาชนกลุ่มวัย ในชุมชนของไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2556;21(7):716-7.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE model ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาล สภากาชาดไทย 2562;12(1):38-48

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ กรุงเทพมหานคร. สถิติ กรุงเทพมหานคร 2562 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.bang kok.go.th/pipd/ page/sub/16647/สถิติกรุงเทพมหานคร 2562

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์ , จารีศรี กุลศิริปัญโญ, อรุณ นุรักษ์เข, กิตติศักดิ์ หลวงพันเทา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ ป้ องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มฉก. วิชาการ 2561;22(43):55- 69.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการสำนักงานเขต จอมทอง. ข้อมูลสานักงานเขตจอมทอง[อินเทอร์เน็ต].2561[สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.oic. go.th/infocenter9/931/#

สำนักงานเขตจอมทอง. ข้อมูลชุมชน จำนวน 48 ชุมชน. 2562. . [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 5 มี.ค. 2564].แหล่ง ข้อมูล: http://www.bangkok.go.th/chomthong.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้ และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้ องกันตนเองจากการ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2563;21(2):29- 39.

Yildirim M, Guler A. COVID-19 severity, self-efficacy, knowledge, preventive behaviors, and mental health in Turkey. Death Stud 2020;46(4):1-8.

Choi JS, Kim JS. Factors influencing preventive behavior against Middle East Respiratory Syndrome-Coronavirus among nursing students in South Korea. Nurse Educ Today 2016;40:168-72.

จุฑาวรรณ ใจแสน. พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล:https://mmm.ru.ac.th/MMM/ IS/sat16/6114060102.pdf

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(2):19-30.

Green L, Kreuter M. Health promotion planning: an education and ecological approach. California: Mayfield Publishing; 1999.

ดลนภา ไชยสมบัติ, นันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. ปัจจัยที่มีผล ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัย ผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564; 30(1): 135-47.

ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, ปุณณิภา คงสืบ, เชาวรินทร์ คำหา, รุ่งเรือง กิจผาติ, ศุภกิจ ศิริลักษณ์. การบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในประเทศไทยโดยใช้ แบบจำลองข้อมูลจาก Big Data. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(3):386-99.

นิอร อริโยทัย, อภิชาต วชิรพันธ์, กฤษฎา หาญบรรเจิด, นิภาพรรณ จันทร์ศิลา, สิทธิกร โกสุมภ์. ความเชื่อมั่นใน สถาบันเฉพาะทางด้านโรคติดต่ออันตรายและการตัดสินใจ มารับบริการสุขภาพในช่วงการระบาดโรค COVID-19. วารสารสถาบันบำราศนราดูร,2563;14(2):80-91.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2 3