การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ในการประเมินผู้สูงอายุ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันสำหรับบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชัน ADLA, ผู้สูงอายุ, กิจวัตรประจำวัน, บุคลากรสาธารณสุขบทคัดย่อ
การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี พบว่า มีผู้สูงอายุไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ร้อยละ 2.50 ประกอบกับบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการให้บริการที่ไม่ทั่วถึง การพัฒนาแอปพลิเคชันจะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีคุณภาพมากขึ้น การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ในการประเมินผู้สูงอายุตามความสามารถในการประกอบ กิจวัตรประจำวัน (activities of daily living in aging: ADLA) กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอไทรน้อย ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ paired sample t-test ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันได้ จัดทำในสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android โดยใช้โปรแกรมในการสร้างแอปพลิเคชัน คือ Android studio ประกอบด้วย (1) หน้า log in เพื่อเข้าสู่แอปพลิเคชัน ADLA (2) หน้าเพิ่มประวัติผู้สูงอายุ (3) แบบประเมินผู้สูงอายุ (4) หน้าต่างการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ตามผลการประเมินผู้สูงอายุ และ (5) เนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยบุคลากร มีความรู้การดูแลผู้สูงอายุก่อนการใช้แอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 14.73±2.29 SD และหลังการใช้แอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 17.93±1.82 SD และบุคลากรมีความรู้หลังการใช้แอปพลิเคชันสูงกว่าก่อนการ ใช้แอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจต่อ การใช้แอปพลิเคชันในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (Mean=4.35±0.63 SD) ดังนั้น แอปพลิเคชัน ADLA ที่ พัฒนานี้สามารถนำไปใช้งานในการประเมินผู้สูงอายุตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้
Downloads
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ.ประชากรผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://gishealth. moph.go.th/pcu/admin/report.phd
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุประบบการดูแล ระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการสนับสนุนงบประมาณ ปี 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.nhso.go.th
ปิยะสกล สกลสัตยาทร. ใช้กายภาพบำบัด เปลี่ยนผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง เป็นติดสังคมแทน [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www. hfocus.org/content/2016/06/12304
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย ศูนย์อนามัยที่ 9. แบบ ประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Index for activity of daily living: ADL) 2558 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://hpc9.anamai.moph.go.th
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. บุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลในเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http:// gishealth.moph.go.th/pcu/admin/report.php
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. ประชากรที่ต้องดูแลในเขตรับผิดชอบ [อินเทอร์- เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://gishealth.moph.go.th/pcu/admin/report.php
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. บุคลากรสาธารณสุขต่อประชากรที่รับผิดชอบ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่ง ข้อมูล: http://gishealth.moph.go.th
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที 4. บุคลากรสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 4 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้น เมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://gishealth.moph. go.th/pcu/admin/report.php
ศวิตา ทองสง. หลักการออกแบบของ ADDIE Model [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 21 ต.ค.62]. แหล่งข้อมูล: http://sites.google.com/site/prae831/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model
อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์วรา วิจิตรไพรศาล. การตรวจสอบ คุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 21 ต.ค.62];44(1):36-42. แหล่งข้อมูล: https://www.tci-thaijo.org/index.php/anesthai/article/ download/116944/89861
ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. อิทธิพลของแอปพลิเคชันในการสื่อสารยุค ปัจจุบัน. Journal of Arts Management [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 24 ต.ค. 62];1(2):75-88. แหล่งข้อมูล: file:///C:/Users/asus/Downloads/138093-Article%20Text-366570-2-10-20180825%20Z2X.pdf
ชนิกานต์ เขียวคล้าย, ฐิติมา นันทะ, ทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ. การพัฒนาแอปพลิเคชันการท่องเที่ยว 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 11 ต.ค.62]. แหล่งข้อมูล: https://research.kpru.ac.th/research2/pages/1556530234.pdf
สุธีรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ ม, แพรตะวัน จารุตัน. การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด สกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https:// www.nhso.go.th/files/userfiles
อนุชา จันทร์เต็ม, สรัญญา เชื้อทอง, ปกรณ์ สุปินานนท์. การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่องการออก กำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 24 ต.ค. 2562];11(1): 1371-85. แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/veridian-E-Journal/article/view/119424
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.