การสื่อสารความตายระหว่างบุคลากรทางสุขภาพกับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองและผู้ดูแลหลัก
คำสำคัญ:
การประกอบสร้าง, การสื่อสารความตาย, การดูแลแบบประคับประคอง, บุคลากรทางสุขภาพ, ผู้ป่วยมะเร็ง, ผู้ดูแลหลักบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายความตายของบุคลากรทางสุขภาพ ผู้ป่ วยมะเร็ง ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองและผู้ดูแลหลัก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กรณีศึกษา เก็บข้อมูลด้วยวิธี สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 16 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง บุคลากรทางสุขภาพ 5 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล แพทย์รังสีรักษา นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยาในโรงพยาบาลทีดูแลผู้ป่ วยมะเร็งระยะสุดท้าย และใช้เทคนิคสโนบอลให้แพทย์ในโรงพยาบาลแนะนำแพทย์ 2 คน พยาบาล 1 คน ที่เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคอง และใช้วิธีเลือกผู้ป่ วยมะเร็งระยะสุดท้าย 4 คน และผู้ดูแลหลัก 4 คน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความเครียดจากนักจิตวิทยาตามข้อแนะนำของคณะกรรมการ จริยธรรมวิจัยในมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า การประกอบสร้างความหมายความตายของแพทย์ พยาบาล แพทย์รังสีรักษา นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยาในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่ วยมะเร็งระยะสุดท้าย แพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคอง และผู้ป่ วยมะเร็งและผู้ดูแลหลักมีความแตกต่างกันไปตามการให้นิยามความหมาย และมุมมองทีเกี ่ ่ยวข้อง เช่น การแพทย์ ศาสนา สังคม และเศรษฐศาสตร์ แม้แต่วิชาชีพแพทย์เหมือนกันยังให้นิยามความหมายความตาย และมี มุมมองความตายแตกต่างกันตามความรู้และความสนใจของแต่ละบุคคล เกิดการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์รวมถึงมี การถ่ายทอดการประกอบสร้างความหมายความตายผ่านกระบวนการสื่อสารในการรักษาตามภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่เผชิญหน้าในโรงพยาบาลโดยการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตประจำวันระหว่างบุคลากรทางสุขภาพกับผู้ป่วย มะเร็งและผู้ดูแลหลักที่มีการต่อรองความตายตามความรู้ที่สะสมมาจากรุ่นสู่รุ่นของผู้ป่ วยมะเร็งและผู้ดูแลหลักของ แต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไปนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่ และเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น
Downloads
เอกสารอ้างอิง
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขประจำปี 2563. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.
จิตใจ ศิริโส. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย; 2559. 158 หน้า.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. วัฒนธรรม ความตาย กับความ หลากหลายทางชาติพันธุ์. กรุงเทพมหานคร: ดีวัน; 2550.
Berger PL, Luckmann T. The social construction of reality: a treatise in the sociology of knowledge. New York: Anchor Books; 1967.
Brabant S. Death: the ultimate social construction of reality. OMEGA 2011;62(3):221-42.
นิตยา เหล่าบุญเกื้อ. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและพลวัตรของ มุมมองต่อความตายในผู้ป่วยระยะสุดท้าย [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย, 2550.
สมรักษ์ เจียมธีรสกุล. การสื่อสารเพื่อการเตรียมตัวตายใน ศตวรรษที่ 21 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://utcc2.utcc.ac.th/humanities_conf/journal_file/0005/UTCC%2016- 19%20 (editted).pdf
ปรียานุช โชคธนวณิชย์. การดูแลผู้ป่ วยระยะสุดท้ายและ ครอบครัว: การจัดบริการและบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ คลินิก [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 18 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://journal.innovtalk.com/upload_files/ journal/journal_id_34_62.pdf
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.