ผลของฉลากยารูปภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้: กรณีศึกษาในชุมชนมุสลิมแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
ฉลากยารูปภาพ, พฤติกรรมการใช้ยา, โรคความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ, อ่านหนังสือไม่ได้บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องใช้ยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเพื่อลดการเสียชีวิตและโรคแทรกซ้อน ฉลากยาเป็นตัวสื่อสารในการใช้ยาให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยต่อผู้ใช้ การศึกษาแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผล ก่อนและหลังเพื่อเปรียบเทียบผลของฉลากยารูปภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่ วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุมุสลิม ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่สามารถอ่านหนังสือ ได้ จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยฉลากยารูปภาพที่พัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วม ของทีมสุขภาพในชุมชนและแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ใช้สถิติ paired t-test ทดสอบเปรียบเทียบผลของพฤติกรรม ก่อนและหลังการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า ค่ากลางอายุของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 71 ปี (พิสัยควอไทล์ 79, 65.2 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.7) หลังการใช้ฉลากยารูปภาพ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาที่ พึงประสงค์ เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่พึงประสงค์ลดลงกว่าก่อน การทดลอง คือการรับประทานยาผิดเวลา ความยากลำบากในการจดจำการกินยา ฉลากยามีความซับซ้อน เข้าใจยาก ไม่รับประทานยาเนื่องจากไม่เข้าใจฉลากยา คะแนนรวมของพฤติกรรมการใช้ยาหลังการทดลอง (Mean=56.3, SD=3.7) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (Mean=44.1, SD=3.6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.05) ฉลากยา รูปภาพช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่ วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถ อ่านหนังสือได
Downloads
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Hypertension [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 3]. Available from: https://www.who. int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension
Mills KT, Stefanescu A, He J. The global epidemiology of hypertension. Nat Rev Nephrol [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 3];16:223–37. Available from: https://doi. org/10.1038/s41581-019-0244-2
George MA. Epidemiology and global burden of hypertension [Internet]. 2018 [cited 2021 Dec 30]. Available from: https://oxfordmedicine.com/view/10.1093/ med/9780198784906.001.0001/med-978019 8784906-chapter-61
World Health Organization, Country Office for Thailand. Hypertension care in Thailand: best practices and challenges [Internet]. 2019 [cited 2022 Jan 5]. Available from: https://apps.who.int/ iris/ handle/10665/330488
ชนัฏตา วิเศษสิงห์. ความเข้าใจข้อความบนฉลากยาของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก่อนและหลังจาก ปรับเป็นฉลากยาส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;26(6):1058-65.
ตวงพร ประทุมรัตน์, จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. การพัฒนา ฉลากยาเสริมสำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562;34(5):509-19.
วิระพล ภิมาลย์, ภัทรพล เพียรชนะ, รวิอร รังสูงเนิน, ลิขิต ฤทธิยา, วิภาดา ภัทรดุลย์พิทักษ์. การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยารูปภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังสูงอายุ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;9(พิเศษ):109-15.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://thaitgri.org/?p=39772
Kripalani S, Robertson R, Love-Ghaffari MH, Henderson LE, Praska JL, Strawder A, et al. Development of an illustrated medication schedule as a low-literacy patient education tool. Patient Educ Couns 2007;66(3): 68-77.
Katz MG, Kripalani S, Weiss BD. Use of pictorial aids in medication instructions: a review of the literature. Am J Health Syst Pharm 2006;63(23):2391-7.
R Core Team. R: a language and environment for statistical computing [Internet]. 2020 [cited 2021 Dec 20]. Available from: https://www.R-project.org/
Sujit SS, Cady PS, Adamcik BA. Consumer comprehension of information on over-the-counter medication labels: effects of picture superiority and individual differences based on age. J Pharm Mark Manage 1997;11(3): 63-76.
Krum R. The key to infographic marketing: the picture superiority effect [Internet]. 2017 [cited 2022 Jan 6]. Available from: https://www.huffpost.com/entry/thekey-to-infographic-ma_b_6510744
Dowse R, Ehlers M. Medicine labels incorporating pictograms: do they influence understanding and adherence?. Patient Educ Couns 2005;58(1):63-70.
Sata T, Ishida K, Motoya T, Nakano R, Honda K, Nakao S, et al. Usefulness of drug information leaflets with pictures to improve understanding by elderly patients of their medicines. J Appl Ther Res 2003;4(2):40-5.
กุลธิดา ไชยจินดา. การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยาที่ เป็นรูปภาพสำหรับผู้ป่วยไทยในภาคเหนือที่มีทักษะการรู้ หนังสือน้อย [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
ขนิษฐา สระทองพร้อม, สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. ผลของฉลากยารูปภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิต สูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563;2(2):14-25.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.