การขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • เกษม ตั้งเกษมสำราญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อนโรงพยาบาลสนาม, การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม กรณีการ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การ ระบาด ระบบการบริหารจัดการ และระบบบริการสุขภาพของจังหวัดอุตรดิตถ์ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการขับ เคลื่อนระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม จังหวัดอุตรดิตถ์ ขั้นตอนที่ 3 ใช้รูปแบบการขับเคลื่อนระบบบริหาร จัดการโรงพยาบาลสนาม จังหวัดอุตรดิตถ์ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลลัพธ์การขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการ โรงพยาบาลสนามจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายนธันวาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการและการประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการ และผู้ป่ วยโรคโควิด 19 ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดขับเคลื่อนผ่านคณะทำงานระดับจังหวัดโดยการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายต่างๆ ทำให้สามารถจัดตั้งโรงพยาบาลสนามได้ 7 แห่ง รองรับผู้ป่ วยได้ทั้งสิ้น 1,120 เตียง ซึ่งทำให้จังหวัด สามารถบริหารจัดการภาวะวิกฤตช่วงระบาดรุนแรงของจังหวัดและสามารถจัดเตียงให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่ วย ติดเชื้อได้ทุกราย รวมทั้งสิ้น 6,075 ราย ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการ โรงพยาบาลสนาม ได้แก่ การนำองค์กรของผู้นำ และการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ความพึงพอใจของ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนามจังหวัดอุตรดิตถ์ และความพึงพอใจของผู้ป่ วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสนามอยู่ในระดับมาก ในเดือนพฤศจิกายน 2564 สถานการณ์การระบาดเริ่มลดลง อย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลสนามจึงได้ทยอยปิดทำการ โดยโรงพยาบาลแห่งสุดท้ายได้ปิดทำการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่จังหวัดต้องดำเนินการต่อคือการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลสนามในการรองรับ การให้บริการผู้ป่ วยที่สูงขึ้น สรุปได้ว่ารูปแบบที่ใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามของจังหวัด อุตรดิตถ์แสดงให้เห็นว่าจังหวัดสามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ รวมถึงการระบาดของโรคอุบัติใหม่ที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/vi-ralpneumonia/file/g_km/ handout001_12032020.pdf

ธีระ วรธนารัตน์. โคโรน่าไวรัส 2019 (covid-19): ตอนนี้ เรารู้อะไรบ้าง? [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.isranews.org/isranews-article/85871-covid.html

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงาน สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที 351 วันที่19 ธันวาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no351-191263.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศเรื่องชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 48 ง (ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. สถานการณ์โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaigov.go.th.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานสรุปผล สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์; 2564.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในกลุ่มผู้ป่วยไม่แสดงอาการหรือมีอาการ น้อย ฉบับที่ 1. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Coombs WT. Ongoing crisis communication: planning, managing and responding. 4th ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 2015.

Cohen JM, Uphoff NT. Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation. New York: Cornell University; 1977.

ปาริชาติ กาญจนวงค์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม. ผลของการพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลสนาม ต่อการจัดการด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ กระจายเชื้อของบุคลากรและผู้ป่วยโควิด-19. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564;11(2):121- 36.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ