การจัดกิจกรรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • โศภิดา บุญมี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ และค่าเฉลี่ยของ คะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ภายใน กลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เลือกแบบเจาะจง แบ่ง เป็นกลุ่มควบคุม 34 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ กิจกรรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี การรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ repeated one-way ANOVA ซึ่งกำหนดระดับความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า (1) ค่า เฉลี่ยของคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากก่อนการทดลองของกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่แตกต่างกัน ภายหลังการได้รับการจัดกิจกรรมทันตสุขศึกษา ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปากของกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ค่าเฉลี่ยของ คะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของกลุ่มควบคุม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปาก ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน และ (3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพช่องปากของกลุ่มควบคุม หลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มควบคุมมี ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะติดตามผลสูงกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์- ทหารผ่านศึก; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. ผลการสำรวจรายงาน สุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูลhttps://cbi.hdc.moph.go.th/ hdc/main/index_pk.php

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying of behavior change psychological. New York: Holt, Rincchart and Winson; 1977.

House JS. The association of social relationship and activities with mortality: community health study. American Journal Epidemiology 1981;3(7):25-30.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ . กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: 2555.

ณรงศักดิ์ บุญเฉลียว. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2558;27:17-27.

กิติศักดิ์ วาทโยธา, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ประสิทธิผลของ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปากของนักเรียนอายุ 12 ปี เขตพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารเชียงใหม่ทันตสาร 2561;40(1):81-96.

ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรม ป้องกันโรคฟันผุ และศึกษาปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์หลัง แปรงฟันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2558;3(2):293-306.

จรสพร ปัสสาคำ, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, สมคิด ปรามภัย. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีผลต่อพฤติกกรม ทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 3 โรงเรียนบ้านสำโรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา 2557;8(2),17-31.

วริศรา คงนิ่ม. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันเพื่อป้ องกัน ฟันผุของนักเรียนชั้ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563.

ปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์ , บุษราคัม สุภาพบุรุษ, เนตรชนก เจริญรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2562;7(3):317-27.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ