การพัฒนาแนวทางการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ สร้างและพัฒนา และประเมินผลลัพธ์แนวทางการทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่ วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ผู้ป่ วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการทำ กายภาพบำบัดในผู้ป่ วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม โดยนำข้อมูลในขั้นตอนที 1 และการทบทวนวรรณกรรม ่ มายกร่างเป็นแนวทาง ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของแนวทางที่พัฒนา ขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่าปัญหาของผู้มารับบริการกายภาพบำบัดใน ผู้ป่ วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม ได้แก่ ขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ท่าทางทำ กิจวัตรประจำวันทำให้ต้องเข้ารับการรักษาเป็นเวลานาน การออกกำลังกายไม่ถูกต้อง และผู้ป่ วยต้องการแนวทางการ ออกกำลังกายที่สามารถทำได้เอง และการปฏิบัติตัวถูกต้องหมาะสมกับตนเอง โดยแนวทางการทำกายภาพบำบัดใน ผู้ป่ วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม คือ ค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุของอาการปวดหลังโดยใช้แบบบันทึก กิจวัตรประจำวัน การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินความเจ็บปวดด้วยแบบประเมินออสเวสทรี ให้ชมวีดีทัศน์การ ดูแลตนเองและการออกกำลังกายทีถูกต้อง การเสริมพลังอำนาจ ร่วมกับการรักษาด้วยเครื่องมือและวิธีการทางกายภาพบำบัด ทั้งนี้หลังจากการใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้น พบว่า คะแนนความเจ็บปวด และคะแนนการประเมินอาการในผู้ป่ วย ปวดหลัง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ดังนั้น การดูแลผู้ป่ วยใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้นร่วมกับการรักษา ตามมาตรฐานของสภากายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่ วยปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ชลเวช ชวศิริ, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, พัชรี บุตรแสนโคตร. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยกระดูกสันหลังเสื่อม. วารสารพยาบาล 2560;32(3):78-90.
Futato R. Epidemiological features of chronic low-back pain. Lancet 1999;354(9178):581–5.
Gregory S. Surgical treatment of cervical spondylotic myelopathy with anterior compression. Journal of neurosurgery.Spine 2008;9(2):152-7.
Rauschning W. Imaging anatomy of the lumbar spine. In: Weinstein JN, Wiesel SW, Editors. The lumbar spine. Philadelphia: WB Saunders; 1990. p. 23-48.
Middleton K, Fish DE. Lumbar spondylosis: clinical presentation and treatment approaches. Curr Rev Musculoskelet Med. 2009; 2(2): 94–104.
Boos N, Weissbach S, Rohrbach H, Weiler C, Spratt KF, Nerlich AG. Classification of age-related changes in lumbar intervertebral discs: 2002 Volvo Award in basic science. Spine 2002;27(23):2631-44.
Macfarlane GJ, Thomas E, Papageorgiou AC, Croft PR, Jayson MI, Silman AJ. Employment and physical workactivities as predictors of future low back pain. Spine 1997;22(10):1143-9.
Norton G, McDonough CM, Cabral H, Shwartz M, Burgess JF. Cost-utility of cognitive behavioral therapy for low back pain from the commercial payer perspective. Spine (Phila Pa 1976) 2015;40(10):725-33.
Rivero-Arias O, Campbell H, Gray A, Fairbank J, Frost H, Wilson-MacDonald J. Surgical stabilisation of the spine compared with a programme of intensive rehabilitation for the management of patients with chronic low back pain: Cost utility analysis based on a randomised con-trolled trial. BMJ 2005;330(7502):1239-43.
Gibson CH. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced nursing 1995;21(6):1201–10.
Breeding RR. Empowerment as a function of contextual self-understanding: The effect of work interest profiling on career decision self-efficacy and work locus of control. Rehabilitation Counseling Bulletin 2008;51:96- 106.
Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: WH Freeman/Times Books/Henry Holt & Co; 1997.
Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research. London:SAGE Publications 1992.
Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the so-cial, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007;39(2):175-91.
สุรชัย แซ่จึง, ทกมล หรรษาวงศ์, กิตติ จิรรัตนโพธิ์ ชัย. ความ น่าเชื่อของแบบสอบถามออสเวสทรีฉบับภาษาไทย ในการ ประเมินอาการของผู้ป่ วยปวดหลัง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2545;17(4):247-53.
Fairbank JC, Couper J, Davies JB, O’Brien JP. The Oswestry low back pain disability questionnaire. Physiotherapy 1980;66:271-3.
Shapiro SS, Wilk MB. An analysis of variance test for normality (complete samples). Biometrika 1965;52(3– 4):591–611.
กาญจนา นิ่มตรง, นงนุช โอบะ, อาทิตย์ เหล่าเรืองธนา. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและอาการปวดของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง เรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2555;6(2):99- 109.
พัชรินทร์ น้อยสุวรรณ, วีระพร ศุทธากรณ์, วันเพ็ญ ทรงคำ. ผลของโรงเรียนปวดหลังต่ออาการปวดหลังส่วนล่างและ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของเกษตรกรชาวนา. พยาบาลสาร 2562;46(3),142-56.
กุลวรางค์ ว่องวิไลรัตน์, พรทิพย์ คำพอ. การพัฒนาศักยภาพ ในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ทีมีอาการปวดหลัง. วารสารวิจัย มข. (บศ.) 2555;12(2):19-29.
อรพันธ์ อันติมานนท์, โกวิทย์ บุญมีพงศ์, ธิติรัตน์ สายแปง, กมลชนก สุขอนันต์, อารีพิศ พรหมรัตน์, พีรวิชญ์ จุลเรือง, และคณะ. ภาระโรคปวดหลังในผู้ประกอบอาชีพ. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(2):119-29.
กนกอร พิเดช, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความ สามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวในระยะฟื้นฟูสภาพ. วารสารแพทย์นาวี 2561;45(2):267-88.
เบญจมาศ พุทธิมา. การพัฒนาสมรรถนะการสร้างเครื่องมือ วัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอนโดยใช้เทคนิคการ เสริมพลังอำนาจ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 2561;8(14):57-72.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.