การพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุธี เชิดชูตระกูลศักดิ์ โรงพยาบาลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
  • นิรัชรา ลิลละฮ์กุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
  • เจษฎากร โนอินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่ วยโรคเบาหวานของเครือข่ายการดูแลผู้ป่ วย โรคเบาหวานอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างคือ เครือข่ายทีมสุขภาพที่เป็นสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่ วย โรคเบาหวาน จำนวน 52 คน และผู้ป่ วยโรคเบาหวานรายใหม่และรายเก่าที่ขึ้นทะเบียนในเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย โรคเบาหวานโรงพยาบาลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โดยคำนวณสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อนที่ ±5% จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 278 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามในการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดบริการผู้ป่ วยโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) เครือข่ายการดูแลผู้ป่ วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 8 เครือข่าย ลักษณะการบริการเชิงรับ สภาพปัญหา ทีสำคัญคือ การคัดกรองสภาพปัญหาของผู้ป่ วยแต่ละรายทีมีภาวะแทรกซ้อนที ่ ต่างกัน และระยะเวลาในการรอคอยนาน ่ ส่งผลทำให้ผู้ป่ วยขาดความต่อเนื่องในการรักษา (2) รูปแบบการจัดบริการภายใต้แนวคิด Sam Ngam SERVICES ซึ่งเป็นการบริการแบบสหวิชาชีพทั้งเชิงรับและเชิงรุก เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน แนวคิดของรูปแบบ มีดังต่อไปนี้ Sam Ngam คือ เครือข่ายการดูแลผู้ป่ วยโรคเบาหวานอำเภอสามง่าม S=Services การบริการเชิงรุกโดย สหวิชาชีพ E=Empowerment การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ทีมเครือข่าย ผู้ป่ วยและผู้ดูแลโรคเบาหวาน R=Real-time การบริการที่เน้นข้อมูลที่ทันเวลาและมีการใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเสมอ V=Volunteer การพัฒนาอาสาสมัครในการดูแล ติดตามและให้ความรู้แก่ผู้ป่ วยโรคเบาหวานและผู้ดูแล I=integration การผสมผสานการดูแลด้วยองค์กรหลายภาคส่วน C=Community การให้ความสำคัญในความร่วมมือของชุมชน E=Engagement การกำหนดแนวทางการดูแล การติดตาม การพัฒนาที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน S=Smiles การบริการด้วยรอยยิ้ม (3) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า ผู้ป่ วยโรคเบาหวานมีความพึงพอใจในรูปแบบการจัดบริการในระดับมาก (Mean=4.06, SD=0.736) โดยพบว่า ด้านการติดตาม ผลงานของทีมให้การดูแลสุขภาพ (Mean=4.18, SD=0.705) มากที่สุด ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้นำรูปแบบใช้ ในโรคอื่นๆ ที่ใกล้เคียงต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภานุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์ NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักข่าว Hfocus. ไทยป่ วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่องแตะ 4.8 ล้านคนคาดถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 14 พ.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://www. hfocus.org/content/2019/11/1803.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.

Koeing A. Complicated diabetes mellitus. Wiley Online Library [Internet]. 2018 [cited 2022 Jun 15]. Available from: https://doi.org/10.1002/9781119028994. ch113

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2555.

วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี. การทบทวนวรรณกรรมเรื่องต้นแบบ การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (chronic care model หรือ CCM). [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 พ.ย. 2565] แหล่งข้อมูล: http://164.115.27.97/digital/files/original/e6ab5e5675cf390aabd602f459896f32.pdf

โรงพยาบาลสามง่าม. เอกสารสรุปผลงาน 9 เดือน ปีพ.ศ. 2564. พิจิตร: โรงพยาบาลสามง่าม; 2564.

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553

สมาคมโรคเบาหวาน. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.

ลักษณา พงษ์ภุมภา, ศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก. วิชาการ 2560; 20(40):67-76.

กมลพรรณ จักรแก้ว. การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่ วยด้วย โรคเบาหวาน ตำบลลวงเหนืออำเภอดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561. 129 หน้า.

Chawla S, Kaur S, Bhart A, Garg R, Kaur M, Soin D, et al. Impact of health education on knowledge, attitude, practices and glycemic control in type 2 diabetes mellitus. Journal of Family Medicine and Primary Care 2019; 8(1):261-8.

ศุภาวดี พันธ์หนองโพน, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบ การจัดการโรคเรื้อรัง (chronic care model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาล ขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(2):55-63.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nur 1991;16(3):354-61.

Contreras F, Sanchez M, Cruz MSM, Chávez C, Mindiola A, Bermudez V, et al. Management and education in patients with diabetes mellitus. Medical & Clinical Reviews 2017;3(2):1-7.

Gagliardino JJ, Chantelot JM, Domenger C, Ramachandran A, Kaddaha G, Mbanya JC, et al. Impact of diabetes education and self-management on the quality of care for people with type 1 diabetes mellitus in the Middle East (the International Diabetes Mellitus Practices Study, IDMPS). Diabetes Res Clin Pract 2019;1(47):29-36.

กิ่งกมล พุทธบุญ, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ระยะที่ 1 และ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(1):127-138.

จุฑามาศ นักบุญ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารบริการสุขภาพ]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2560. 176 หน้า.

Azevedo J , Baldoni N , Rabelo C, Sanches C, Oliveira C, Alves G, et al. Effectiveness of individual strategies for the empowerment of patients with diabetes mellitus: a systematic review with meta-analysis. Prim Care Diabetis 2018;12(2):97-110.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. คู่มือหลักการการให้บริการที่ ดี ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 14 พ.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://e-par.kpru. ac.th/e-par/a2/A0008-3571100271091- 201909101568088821.pdf

ถนัต จ่ากลาง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการ สุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดขอนแก่น.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560;4(2):123-36.

รุ่งฤดี อ่อนทา, สุทธีพร มูลศาสตร์, ปาหนัน พิชยภิญโญ. การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบมีส่วนร่วมระหว่างพยาบาลวิชาชีพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559; 34(4):19-27.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ