นวัตกรรมการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสเด็งกี่ ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกาในยุงลายบ้าน Aedes aegypti และ ยุงลายสวน Aedes albopictus

ผู้แต่ง

  • สุรชาติ โกยดุลย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิภาพการตรวจหาเชื้อไวรัสเด็งกี่ ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา ในระดับโมเลกุลในยุงลายพาหะนำโรคด้วยวิธีอาร์ทีพีซีอาร์ และ (2) วิเคราะห์แหล่งแพร่เชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดในพื้นที่ ศึกษา เก็บตัวอย่าง pool ของยุงลาย สำรวจอาคารบ้านเรือน และนิเวศวิทยา ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2560 ประกอบด้วย 6 พื้นที่เสี่ยงสูงต่อโรคไข้เลือดออก ได้แก่ (1) หมู่ 2 และ หมู่ 6 ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี (2) ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต และ (3) ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ดำเนิน การสำรวจอาคารบ้านเรือน และนิเวศวิทยาอย่างน้อยพื้นที่ละ 200 หลัง โดยใช้แบบสำรวจและบันทึกตำแหน่งอาคาร บ้านเรือน โดยใช้เครื่องวัดพิกัด GPS และเก็บตัวอย่าง pool ของยุงลายพื้นทีละ 100 pools โดยใช้เครื่องดูดยุง เพื่อ ่ ทำการสกัดอาร์เอ็นเอและใช้เป็นแม่พิมพ์ในการตรวจอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสเด็งกี ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา เปรียบ- ่ เทียบกับตัวอย่างควบคุมบวกและตัวอย่างควบคุมลบ โดยใช้วิธี RT-PCR ผลการวิจัยพบการติดเชื้อร่วมระหว่างเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซีโรไทป์ 1, 2 และ 3 กับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาในตัวอย่าง pool ของยุงลายบ้าน Ae. aegypti จำนวน 1 pool (ร้อยละ 1.0) ซึ่งเก็บได้จากพื้นที่ศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และพบการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซีโรไทป์ 1 ในตัวอย่าง pool ของยุงลายบ้าน Ae. aegypti จำนวน 1 pool (ร้อยละ 1.0) ซึ่งเก็บได้จากพื้นที่ศึกษาจังหวัดภูเก็ต สำหรับพื้นที่ ศึกษาจังหวัดพังงา ไม่พบการติดเชื้อไวรัสชนิดใดเลยในตัวอย่าง pool ของยุงลายบ้าน ในขณะที่ ไม่พบการติดเชื้อไวรัสชนิดใดเลยในตัวอย่าง pool ของยุงลายสวน Ae. albopictus ซึ่งเก็บได้เฉพาะจากพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่านั้น เทคนิค RT-PCR มีความไวและความจำเพาะสูงเพื่อตรวจเชื้อไวรัสเด็งกี่ ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา ใน ตัวอย่าง pool ของยุงลาย และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินระบาดวิทยาโดยตรง เพื่อวิเคราะห์แหล่งที่มา ของการแพร่กระจายไวรัสเด็งกี่และไวรัสชิคุนกุนยาในยุงลาย ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านที่พบยุงลายติดเชื้อในพื้นที่ ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเช่นเดียวกันกับการแพร่กระจายไวรัสเด็งกี่ในยุงลาย ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านที่พบยุงลายติดเชื้อในพื้นที่ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ ข้อมูลระบาดวิทยา ข้อมูลกีฏวิทยา และข้อมูลการสำรวจอาคารบ้านเรือน นวัตกรรมการเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา และไวรัสวิทยานี้ มีประโยชน์ในการระบุการแพร่ของไวรัสสเด็งกี่ ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกาได้ตั้งแต่แรกเริ่ม และ ควบคุมพาหะนำโรคได้ทันเวลาและตรงพื้นที่เป้ าหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สุรชาติ โกยดุลย์. การใช้วิธีการทางด้านนิเวศ-ชีวะ-สังคมใน การประเมินพลวัตรการแพร่เชื้อของโรคไข้เลือดออกใน ประเทศไทย [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาชีววิทยา] นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553. 211 หน้า.

Koyadun S, Butraporn P, Kittayapong P. Ecologic and sociodemographic risk determinants for dengue transmission in urban areas in Thailand [Internet]. 2012 [Cited 2020 Jan 20]. Avalaible from: https://www.hindawi. com/journals/ipid/contents/year/2012

สุรชาติ โกยดุลย์, อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์, รัชพล สัมพุทธานนท์, วิชุตา แซ่เจีย, ประภัสสร ดำแป้ น, สุนทร พิมพ์นนท์. การ พัฒนาแบบจำลองการแพร่โรคไข้เลือดออกในสภาวะการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิทัศน์ในพื้นที่ท่องเที่ยว และเขตเมืองของจังหวัดภูเก็ต. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2561.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. รายงานการ ประเมินผลการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ระดับประเทศ ปี 2559 – 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya fever) ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://datastudio.google.com/reporting/d65ea341- d007-4929-bbc1-6e797050b5cc/page/GKWfC

สุมาลี ชะนะมา, ภัทร วงษ์เจริญ, ศิริรัตน์ แนมขุนทด, ลัดดาวัลย์ มีแผนดี, อริสรา โปษณเจริญ, พงศ์ศิริ ตาลทอง, และคณะ. ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2559-2563. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2565;63(3):607-17.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ โรคติดนำโดยแมลง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com/drive/ folders/1D5qQj_9LLV4NIYtQSSxhbmF2BGkaIOXp8

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี และโรคไข้เลือด ออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

Fauver JR, Gendernalik A, Weger-Lucarelli J, Grubaugh ND, Brackney DE, Foy BD, et al. The use of xenosurveillance to detect human bacteria, parasites, and viruses in mosquito bloodmeals. Am J Med Hyg 2017; 97(2):324-29.

Grubaugh ND, Sharma S, Krajacich BJ, FaKoli III LS, Bolay FK, Diclaro II JW, et al. Xenosurveillance: A novel mosquito-based approach for examining the human-pathogen landscape. PLOS NTDs 2015;9(3):1- 18.

Barrio-Nuevo KM, Cunha MS, Luchs A, Fernandes A, Rocco IM, Mucci LF, et al. Detection of Zika and dengue viruses in wild-caught mosquitoes collected during field surveillance in an environmental protection area in Sao Paulo, Brazil. PLOS ONE 2020;15(10):1-13.

Naing L, Winn T, Rusli BN. Practical issues in calculating the sample size for prevalence studies. Archiv Orofacial Sci 2006;1:9-14.

Lanciotti RS, Calisher CH, Gubler DJ, Chang GJ, Vorndam AV. Rapid detection and typing of dengue viruses from clinical samples by using reverse transcriptase-polymerase chain reaction. J Clin Microbiol 1992;30:545- 51.

Lanciotti RS. Molecular amplification assays for the detection of flaviviruses. Adv Virus Res 2003;61:67- 99.

Hamel R, Dejarnac O, Wichit S, Ekchariyawat P, Neyret A, Luplertlop N, et al. Biology of Zika virus infection in human skin cell. J Virol, 2015;89(17): 8880-96.

Lanciotti RS, Kosoy OL, Laven JJ, Velez JO, Lambert AJ, Johnson AJ, Stanfield SM, Duffy MR. Genetic and serologic properties of Zika virus associated with an epidemic, Yap State, Micronesia, 2007. Emerg Infect Dis 2008;14:1232–39.

García-Rejón JE, Loroño-Pino MA, Farfán-Ale JA, Flores-Flores LF, López-Uribe MP, Najera-Vazquez Mdel R, et al. Mosquito infestation and dengue virus infection in Aedes aegypti females in schools in Mérida, México. Am J Trop Med Hyg 2011;84(3):489–96.

สุรชาติ โกยดุลย์, อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์. นิเวศระบาดวิทยาและ พลวัตการแพร่ไวรัสเด็งกี่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2565;17(1);44-57.

Dzul-Manzanill F, Martinez NE, Cruz-Nolasco M, Gutierrez-Gastro C, Lopez-Damian L, Ibarra-Lopez J, et al. Evidence of vertical transmission and co-circulation of chikungunya and dengue viruses in field populations of Aedes aegypti (L.) from Guerrero, Mexico. Trans R Soc Trop Med Hyg 2016;110(2):141-4.

Khan J, Khan I, Camarena AH, Amin I. A comprehensive entomological, serological and molecular study of 2013 dengue outbreak of Swat, Khyber Pakhtunkhwa, Pakistan. PLOS ONE 2016; 11(2):1-18.

Chiuya T, Masiga DK, Falzon LC, Bastos ADS, Fevre EM, Villinger J. A survey of mosquito-borne and insect-specific viruses in hospitals and livestock markets in western Kenya. PLOS ONE 2021;16(5):1-21.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้