ประสิทธิผลของ APE-AI Model ต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นมุสลิมในบริบทภาคใต้ชายแดน

ผู้แต่ง

  • อวาทิพย์ แว กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
  • ฮูดา แวหะยี คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการดำรงชีวิต สาเหตุของการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม สภาพการณ์วิถีชีวิตของแม่วัยเรียน แนวทางการดูแลแม่วัยเรียนให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ และพัฒนารูปแบบการ จัดการความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นมุสลิม รวมทั้งประเมินระดับ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยง เป็นการดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษารูปแบบการ ดำรงชีวิต สาเหตุของการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม แนวทางการดูแลแม่วัยเรียนให้สามารถดำรงชีวิต ด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (2) พัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ เหมาะสมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นมุสลิม โดยนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 การทบทวนวรรณกรรม และ การสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูล 30 คน และ (3) ประเมินประสิทธิผลของระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองใน การจัดการความเสี่ยงและพัฒนาคุณภาพชีวิตในบริบทภาคใต้ชายแดน เครื่องมือในการวิจัยเป็น รูปแบบการจัดการ ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศทีไม่เหมาะสมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในพื้นที ่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ่ (APE-AI MODEL) และแบบวัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการจัดการความเสียงต่อพฤติกรรมทางเพศ ่ ที่ไม่เหมาะสมและพัฒนาคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์วิถี ชีวิตของแม่วัยเรียน สรุปได้ดังนี้ ผู้ปกครองไม่เข้าใจและไม่มีเวลาให้ ขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ที่ปลอดภัย การใช้สื่อเทคโนโลยีในทางที่ไม่เหมาะสม การใช้หลักศาสนาแก้ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ ขาดโอกาส ศึกษาต่อ รายได้ไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่าย (2) รูปแบบการจัดการความเสี่ยงคือ พัฒนาทักษะการตัดสินใจและ การเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม การได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาความรู้และทักษะการ มีเพศสัมพันธ์ทีปลอดภัย การถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องพฤติกรรมทางเพศ การเผชิญปัญหา ผลกระทบ และบทบาท ่ แม่วัยรุ่น และ (3) นักเรียนมีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศที่ ไม่เหมาะสม และพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สาลินี แนวหล้า, ปริญญา ผกานนท์. ทัศนคติและพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”; 29 ก.ค. 2559; ณ มหาวิทยาลัยราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี; 2559. หน้า 1584-91.

Word Health Organization. Adolescent pregnancy [Internet]. [cited 2020 Oct 2]. Available from: https:// www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง. โครงการวิจัยส่งเสริมเครือข่ายการ รวมพลังแม่วัยเรียนในบริบทภาคใต้ชายแดน. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561. 185 หน้า.

อวาทิพย์ แว, ฮูดา แวหะยี. บริบทการจัดการความเสี่ยงต่อ พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมและแนวทางการพัฒนา คุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่น ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที 20; 19-20 พ.ค.2565; คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565. หน้า 280-92.

Crabtree BF, Miller WL. A template approach to text analysis: developing and using codebooks. In: Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research. Newbury Park, CA: Sage Publications; 1992. p. 93-109.

Becker MH, Maiman LA. The health belief model and sick role behavior. Health Education Quarterly 1984;11(1):1-47.

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1997; 84(2):191-215.

บุญใจ ศรีสถิตนรากุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล.. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Hair Jr JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RF. Multivariate data analysis: a global perspective. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education; 2014.

ทัศณีย์ หนูนารถ, เบญจวรรณ ละหุการ. การสื่อสารเรื่องเพศ ในครอบครัวมุสลิม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2562;2(2):51-62.

อัครวัฒน์ ราตรีสวัสดิ์ , ศุภฤกษ์์ โพธิิ ไพรรัตนา.พฤติกรรม การสื่อสารและการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชน ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสื่อสารมวลชน 2564;9(1):26- 51.

สุชาติ รัตถา, เรขา อรัญวงศ์, รัชนี นิธากร. การพัฒนารูปแบบการป้ องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ของวัยรุ่นในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล สงคราม 2560;9(2):142-60.

สุทัตตา พานิชวัฒนะ. การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทรัพยากรในงาน และความผูกพันในงาน ของพนักงาน ฝ่าย ทรัพยากรบุคคลของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2560. 201 หน้า.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง