การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการดูแลผู้ที่มีภาวะ Long COVID กรณีศึกษา ศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน ใกล้ใจ กุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • จิตร มงคลมะไฟ โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร
  • นิบพร แสนโท โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร
  • อนงลักษณ์ พลเยี่ยม โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, เฝ้าระวังและการดูแลแบบมีส่วนร่วม, ผู้ที่มีภาวะ Long COVID

บทคัดย่อ

ภาวะ Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นในคนที่หายจากการป่ วยด้วยโรคโควิด-19 แล้ว การศึกษาความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการดูแลควรได้รับการพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบเฝ้ าระวังและการดูแลผู้ที่มีภาวะ Long COVID ในพื้นที่ศูนย์สุขภาพ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ กุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม ร่วมกับใช้กระบวนการ PAOR มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการวางแผน (planning) (2) ขั้นการปฏิบัติการ (action) (3) ขั้นการสังเกตการณ์ (observing) และ (4) ขั้นการสะท้อนผล (reflecting) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่ วยโรค COVID-19 จำนวน 20 คน ผู้ป่ วยโรคโควิด-19 จำนวน 176 ราย จากที่เข้ารับการ รักษาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2565 ทั้งหมดจำนวน 1,069 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) แล้วสรุปเป็นประเด็นปัญหา และความต้องการในการพัฒนาระบบเฝ้ าระวัง และระบบการดูแลแบบมีส่วนร่วม และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาหลังร่วมวางแผนปรับหมุน เกลียว PAOR 2 วงรอบ ผู้รับบริการฯ ที่มีอาการรุนแรง ได้รับการเฝ้าระวังในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน และส่งต่อเพื่อส่งเสริม การรักษา โดยทีมสหวิชาชีพ พร้อมทั้งติดตามเยี่ยมบ้าน กรณี 608 ที่มีอาการ รุนแรง/ผล X-ray ผิดปกติ จากการสังเกตทบทวนการปฏิบัติจนสามารถตกผลึกเป็นแนวทาง (flow chart) ในการ เฝ้ าระวังและการดูแลผู้ที่มีภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน นำสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหา ผู้รับ บริการมีความพึงพอใจร้อยละ 92.45 บุคลากรมีความพึงพอใจร้อยละ 94.17 สรุป การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและ การดูแลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะ Long COVID แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของ ผู้ติดเชื้อโควิด-19

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19): post COVID-19 condition [Internet]. 2021. [cited 2022 Jan 8]. Available from:https://www. who.int/news-room/questions-and-answers/item/coronavirus-disease-covid-19)-post-covid-19-condition?gclid=Cj0KCQjwhLKUBhDiARIsAMaTLnFOaJkEuXpJkSQCOKW6ewAJoHZe5mfN3bf-5kU66ChR6w1wZN_CbRIaAkHHEALw_wcB

กรมการแพทย์. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (post COVID syndrome) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 26 ม.ค. 2565 ]. แหล่งข้อมูล: https://covid19. dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_ Health/Attach/25650126100932AM_การดูแลรักษา ผู้ป่วย Long COVID v.2.4.pdf

หทัยรัตน์ สุนทรสุข, นงนวล พลูเกษร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคโควิด-19 และผลกระทบของการระบาด ต่อประชาชน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ ป้องกันแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค.2565 ];11(1):13–29. แหล่งข้อมูล: https:// he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/ view/249450

รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา. ภาวะ Long COVID (ลองโควิด). คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [ อินเทอร์เน็ต ]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค.2565 ]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ article/ภาวะ-long-covid-ลองโควิด

ศูนย์สื่อสารโควิด-19 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยโสธร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค.2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. facebook.com/SATYASOTHON/posts/28436969 95910331

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.

พิมณทิพา มาลาหอม, พนมวรรณ์ สว่างแก้ว, วิชิต พุ่มจันทร์. พลังชุมชนกับการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการระบาด ของโควิด–19 ในชุมชนชายแดนไทย – ลาว [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 22 ม.ค. 2565 ]. แหล่งข้อมูล: https:// www.sac.or.th/main/th/article/detail/

สงครามชัย ลีทองดี. การจัดการระบบสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2558.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ