ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • มุทิตา ชูแก้ว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมรา
  • สุมิตตรา หมื่นใจ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ณิชนันทร์ บุญช่วยแก้ว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เสาวลักษณ์ สัจจะอาวุธ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สิทธิพร เพชรทองขาว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิต

บทคัดย่อ

ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการมีความสุข การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีดัชนีบาร์เธล เอดีแอล ตั้งแต่ 12 ถึง 20 จำนวน 285 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลตนเองและความพึงพอใจในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดย การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในชีวิตด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ และด้านสังคมอยู่ในระดับสูง ผู้สูงอายุบางส่วนมีความพึงพอใจด้านความคิดและสติปัญญาอยู่ในระดับปานกลางและสูง พบว่า สถานภาพสมรสและฐานะทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้ที่อยู่กับคู่ครองหรือมีรายได้เพียงพอส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในชีวิตอยู่ในระดับสูง ยังพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายและด้านการจัดการความเครียดมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ ในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่นี้ควรให้ ความสำคัญกับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวหรือผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอเป็นกลุ่มแรก การเสริมสร้างพฤติกรรม การดูแลตนเองก็จะทำให้ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน หน่วยงานในพื้นที่อื่นๆ ควรที่จะศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อที่จะออกแบบการบริการที่จำเพาะเจาะจง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

องค์กรสหประชาชาติในประเทศไทย. มนุษยชาติก้าวหน้ามา ไกลและเรายังต้องไปต่อเพื่อสร้างโลกอันเท่าเทียมที่กำลังจะ เป็นบ้านของคน 8 พันล้าน [อินเทอร์เน็ต]. 2020 [สืบค้น เมื่อ 13 พ.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://thailand.un.org/ th/192347-มนุษยชาติก้าวหน้ามาไกลและเรายังต้องไปต่อเพื่อสร้างโลกอันเท่าเทียมที่กำลังจะเป็นบ้านของคน-8

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ความหมายของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https:// www.dop.go.th/th/know/15/646

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. dop.go.th/th/know/side/1/1/1159

วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี, พีสสลัลฌ์ ธารงศ์วรกุล. คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่สถานสงเคราะห์ ผู้สูงอายุหญิง. วารสารจันทรเกษมสาร 2561;24:110–25.

กรมอนามัย. ดูแลผู้สูงอายุด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://multimedia.anamai.moph.go.th/video-knowledges/vdo-080763/

กรมอนามัย. ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรม สุขภาพที่พึงประสงค์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://eh.anamai.moph.go.th/ th/kpi1-16/

Mekonnen HS, Lindgren H, Geda B, Azale T, Erlandsson K. Satisfaction with life and associated factors among elderly people living in two cities in northwest Ethiopia: A community-based cross-sectional study. BMJ Open [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 16];12(9):e061931. Available from: https://bmjopen.bmj.com/content/12/ 9/e061931

Park JH, Kang SW. Factors related to life satisfaction of older adults at home: a focus on residential conditions. Healthc [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 16];10(7): 1279. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih. gov/35885806/

Papi S, Cheraghi M. Multiple factors associated with life satisfaction in older adults. Prz Menopauzalny [Internet]. 2021 [cited 2022 Dec 16];20(2):65–71. Available from: https://doi.org/10.5114/pm.2021.107025

Inal S, Subasi F, Ay SM, Hayran O. The links between health-related behaviors and life satisfaction in elderly individuals who prefer institutional living. BMC Health Serv Res [Internet]. 2007 [cited 2022 Dec 17];7:30. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/ 17326842/

Erci B, Yilmaz D, Budak F. Effect of self-care ability and life satisfaction on the levels of hope in elderly people. J Psychiatr Nurs [Internet]. 2017 [cited 2022 Dec 17];8(2):72–6. Available from: http://search/yayin/ detay/267908

Alavijeh M, Zandiyeh Z, Moeini M. The effect of selfcare self-efficacy program on life satisfaction of the Iranian elderly. J Educ Health Promot [Internet]. 2021 [cited 2022 Dec 17];10(1):167. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC8249966/

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคม. ข้อมูลพื้นฐานและ ประชากรตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านนิคม; 2564.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607– 10.

Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

สาธิตา พงษ์เสน่ห์. ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ ชมรม ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.researchgate.net/profile/Psychology-And-Guidance-Silpakorn-2/publication/341998699_khwamphungphxcinichiwitkhxngphusungxayu_chmrmphusungxayuthesbaltablnonsung_ xaphexkhunhay_canghwadsrisakes/links/5eddca2c 92851c9c5e8f9f12/khwamphungphxcinichiwit

เพ็ญพิชญ์ จันทรานภาภรณ์, ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความพึงพอใจในชีวิต และความผาสุก ทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุที่ศูนย์บริการ สาธารณสุข 64 คลองสามวา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 2563;6(2):177–86.

ดารารัตน์ สุขแก้ว, สัมพันธุ์ จันทร์ดี, ประนอม ตั้งปรีชา พาณิชย์, ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร. การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ วัยสูงอายุและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุตามอาชีพ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งรัตนโกสินทร์ 2565;4(1):18–32.

ฉัตรวารินทร์ บุญเดช, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพ ความเชื่อทาง ศาสนา การปฏิบัติทางศาสนา ความพึงพอใจในชีวิตกับภาวะ ธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2560;32(3):66–77.

รติพร ถึงฝั่ง, สนิท สมัครการ. สุขภาพ ความคาดหวัง และ ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุไทย. วารสารพัฒนาสังคม 2559;18(1):35–60.

Vijayakumar G, Devi ES, Jawahar P. Life satisfaction of elderly in families and old age homes: a comparative study. Int J Nurs Educ 2016;8(1):94.

ฐิตินันท์ นาคผู้, อาจินต์ สงทับ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเท็ร์นเอเชีย 2562;13(1):48–54.

Maslow AH. A theory of human motivation. Psychol Rev. 1943;50(4):370–96.

พรนิภา วิชัย, ธาวินี ตั้งตรง, อรพิณ พลชา, ณรงค์ ใจเที่ยง, สุทธิชัย ศิรินวล, สมชาย จาดศรี, และคณะ. พฤติกรรมการ ดูแลตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2564;10(2):26–35.

สุขประเสริฐ ทับสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า 2563; 3(1):14–30.

อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี, ภูริทัต แสงทองพานิชกุล. การ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคล และแรงสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563;64(2):85–96.

สุดารัตน์ ชูพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุติดสังคมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสระตะเฆ่ ตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2564;36(2): 100–7.

สำเนาว์ ศรีงาม. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2559;6(3):216–24.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง