การพัฒนาระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการออนไลน์ เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิติชัย ทุมนันท์ กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ตามวงจร PAOR ของ Kemmis and McTagart การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาและผลของการพัฒนาระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการออนไลน์ ระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2564 กลุ่มตัวอย่างประกอบ ด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินรูปแบบการพัฒนาระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการออนไลน์ ระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี และ แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการออนไลน์ ระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ผู้บริหาร และคณะทำงานมีความพึงพอใจ ผล การประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการออนไลน์ ระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีข้อคำถาม ทั้งหมด 5 ข้อ ตามบริบทจากสภาพปัญหาของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัล กระทรวง สาธารณสุข (2564 – 2568) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 3 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www.cnto.moph. go.th/upload_files/ดาวน์โหลด/ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัล กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www. dga.or.th/policystandard/policy-regulation/dga-019/ dga-024/dga-029/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 3 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www.pcko.moph.go.th/ Health-Statistics/stratistics60

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1990.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row; 1973.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.

Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Illinois: Springer; 1951.

Likert R. The method of constructing and attitude scale. New York: Wiley & Son; 1967.

บังอร ผามั่น, เพชรมาศ อาระวิล. การศึกษาสาเหตุและปัจจัย ที่มีผลต่อระยะเวลารอคอยและการรายงานผลล่าช้าของ งานเคมีคลินิกห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว [โครงงานวิจัยสาขาเทคนิคการแพทย์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ