ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการผู้สูงอายุภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี สิงหาด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุฬดี กิตติวรเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • จำลอง กิตติวรเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • อธิพงศ์ สุริยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุเพียร โภคทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการผู้สูงอายุ, ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ผู้ป่วยสูงอายุ, โรงพยาบาลตติยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการผู้สูงอายุ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และ คุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยสูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ใช้การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่ วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่ วยในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2)แบบประเมินความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ (3)แบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 2002 (4) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (5) แบบประเมินภาวะสับสนฉับพลันฉบับภาษาไทย (6) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และ (7) แบบประเมินความสามารถการทำหน้าทีของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ่ ไคสแควร์ และการถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มอาการผู้สูงอายุทีมีความสัมพันธ์กับภาวะกลั้นปัสสาวะ ่ ไม่อยู่และคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะสมองเสื่อม(OR, 2.84; 95%CI= 1.33-5.67) ภาวะซึมเศร้า (OR,1.36; 95%CI=1.00-1.73) และภาวะหกล้ม (OR,3.52; 95%CI=1.85-5.92) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการดูแลกลุ่มอาการของผู้สูงอายุและภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ของผู้ป่ วยสูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่ เปลี่ยนไป.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2562; 6(1): 38- 54.

ศกุนตลา อนุเรือง. ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ สถานการณ์ประเด็นท้าทายและการจัดการดูแล. วารสาร พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 29(2): 1-14.

เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. การดูแลสู่ความเป็นเลิศทางการ พยาบาลตามกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2559.

Kim K, Shin J, Choi J, Park J, Park H, Lee J, et al. Association of geriatric syndromes with urinary incontinence according to sex and urinary incontinence related quality of life in older inpatients a cross sectional study of an acute care hospital. Korean Journal of Family Medicine 2018; 40(4):235-40.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ การนำใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2560.

Cheung J, Yu R, Wu Z, Wong S, Woo J. Geriatric syndromes, multimorbidity, and disability overlap and increase healthcare use among older Chinese. BMC Geriatrics 2018;18(4): 1-8.

Cochran WG. Sampling techniques. New York: Wiley; 1963.

สรวีร์ วีระโสภณ, อภิรักษ์ สันติงามกุล. การทดสอบความ แม่นยำของแบบสอบถามประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เมื่อแปลเป็นภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2559;60(4): 389-8.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ. นนทบุรี: อิสออกัส; 2558.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุ ของไทย. สารศิริราช 2537;46(1):1-9.

สมบัติ ศาสตร์รุ่งภัค, รุ่งทิพย์ ประเสริฐชัย, สุทธิพร เจณณวาสิน, รัตนา สายพานิชย์. ความแม่นตรงของ Thai Delirium Rating Scale ฉบับ 6 ข้อประเมิน. สารศิริราช 2544; 53(9):672-7.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุ: การประยุกต์ใช้ในการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2562.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย; 2558.

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ, มัญชุมาส มัญจาวงษ์. ภาวะสูญเสียการ รู้คิดเล็กน้อย.วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2563;6(2):25-3.

ปิติพร สิริทิพากร, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ดุจปรารถนา พิศาลสารกิจ, เพ็ญศรี เชาว์พานิชย์เวช, ไพฑูรย์ เหล่าจันทร์, สุทิศา ปิติญาณ, และคณะ. ความชุกของกลุ่มอาการสูงอายุและ ลักษณะของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(3):20-9.

ณภัทร จิรวัฒน์, ศุภนิดา คำนิยม, วงศธร เทียบรัตน์, ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. กลุ่มอาการสูงอายุ. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;5(1):23-4.

มยุรี ลี่ทองอิน, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์, ลัดดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์. ภาพสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้ารักษา ในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแล สุขภาพ 2559;34(2):193-20.

สมทรง จิระวรานันท์, จุฬาลักษณ์ ใจแปง. ภาวะกลั้นปัสสาวะ ไม่ได้ในผู้สูงอายุ บทบาทพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล. 2562;21(2):77-8.

Limpawattana P, Sawanyawisuth K, Soonpornrai S, Huangthaisong W. Prevalence and recognition of geriatric syndromes in an outpatient clinic at a tertiary care hospital of Thailand. Asian Biomedicine 2021;5(4): 493-97.

วะนิดา น้อยมนตรี. ความกลัวการหกล้ม กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และบทบาทของพยาบาลโดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561;26(3):92-101.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ