ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ

ผู้แต่ง

  • สำราญ วิมุตติโกศล กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยพยากรณ์, ภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด, การเสียชีวิตในทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

ภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด (perinatal asphyxia) เป็นปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนของทารกแรกเกิดและทำให้มี การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น ในประเทศไทยภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดยังคงเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของ การเจ็บป่ วยและการตายของทารกแรกเกิดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้น หากทราบปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตโดย เฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดที่อาการรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่ วยทารกแรกเกิดวิกฤติอาจทำให้มีการวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อน หลังแบบเชิงเปรียบเทียบโดยมีวัตถุประสงค์คือการระบุปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาด ออกซิเจนปริกำเนิดในหอผู้ป่ วยทารกแรกเกิดวิกฤติ การศึกษาดำเนินการกับทารกแรกเกิด 120 คน (กลุ่มเสียชีวิต 60 รายและกลุ่มรอดชีวิต 60 ราย) ที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดในหอผู้ป่ วยทารกแรกเกิด วิกฤติในโรงพยาบาลชลบุรีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ปัจจัยเสี่ยงของภาวะขาด ออกซิเจนปริกำเนิดประเมินโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ multiple logistic regression และรูปแบบการพยากรณ์ถูก สร้างขึ้นโดยใช้ coefficient of the regression weighted score ของปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญเพื่อใช้ในการทำนาย โอกาสในการเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่อการเสียชีวิต มีเพศหญิง (OR 3.60, 95%CI 1.21-10.65, p<0.05) จำเป็นต้องได้รับ advanced resuscitation (OR 3.72, 95%CI 1.14-12.17, p<0.05) และมีภาวะ severe acidosis (OR 4.58, 95%CI 1.53-13.70, p<0.05) รูปแบบการพยากรณ์ได้สร้างเป็นคะแนน ถ่วงน้ำหนักเพื่อทำนายการเสียชีวิตเท่ากับ 1, 2, และ 2 สำหรับแต่ละปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญตามลำดับ โดยมีค่า cut off point เท่ากับ 3 คะแนน มีความน่าจะเป็นของการเสียชีวิตใน 28 วันแรกของชีวิตประมาณ 60% โดยมี hazard ratio = 6.82, 95%CI 3.82-12.20, p<0.05.

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Dessu S, Dawit Z, Timerga A, Bafa M. Predictors of mortality among newborns admitted with perinatal asphyxia at public hospitals in Ethiopia: a prospective cohort study. BMC Pediatr 2021;21:304.

Ray S. A baby with low Apgar scores at birth. BMJ 2016;352:i479.

Office of National Statistics, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Health. Account throughout the Kingdom 2013 – 2016. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2018.

Chandra S, Ramji S, Thirupuram S. Perinatal asphyxia: multivariate analysis of risk factors in hospital births. Indian Pediatr 1997;34(3):206-12.

Lee AC, Mullany LC, Tielsch JM, Katz J, Khatry SK, LeClerq SC, et al. Risk factors for neonatal mortality due to birth asphyxia in southern Nepal: a prospective, community-based cohort study. Pediatrics 2008;121(5): e1381-90.

Chen ZL, He RZ, Peng Q, Guo KY, Zhang YQ, Yuan HH, et al. Prenatal risk factors for neonatal asphyxia: how risk for each? Zhongguo Dang Dai Er Ke Za Zhi 2009; 11(3):161-5.

Wongsang N. A study of neonatal hypoxia in Samutprakan Hospital. JDMS 2000;25(2):78-86.

Pisavong C, Panichkul P. Risk factors associated with hypoxia of newborn babies in Phramongkutklao Hospital. RTAMedJ 2011;64(3):109-20.

Basiri B, Sabzehei M, Sabahi M. Predictive factors of death in neonates with hypoxic-ischemic encephalopathy receiving selective head cooling. Clin Exp Pediatr 2021; 64(4):180-7.

Uleanya ND, Aniwada EC, Ekwochi U, Uleanya ND. Short term outcome and predictors of survival among birth asphyxiated babies at a tertiary academic hospital in Enugu, South East, Nigeria. Afr Health Sci 2019; 19(1):1554-62.

Nayeri F, Shariat M, Dalili H, Bani Adam L, Zareh Mehrjerdi F, Shakeri A. Perinatal risk factors for neonatal asphyxia in Vali-e-Asr hospital, Tehran-Iran. Iran J Reprod Med 2012;10(2):137-40.

Silveira RC, Procianoy RS. Hypothermia therapy for newborns with hypoxic ischemic encephalopathy. J Pediatr 2515;91(6 Suppl 1):578-83.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ