การประเมินผลโครงการเฝ้าระวังสุขภาพนักเรียน ด้วยแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองสําหรับนักเรียน

ผู้แต่ง

  • สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
  • รักมณี บุตรชน โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
  • ดนัย ชินคำ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
  • นิธิเจน กิตติรัชกุล โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
  • อรพรรณ โพธิหัง โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
  • ชนกานต์ ด่านวนกิจเจริญ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ยศ ตีระวัฒนานนท์ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

คำสำคัญ:

การประเมินผล, แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ, นักเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการเฝ้าระวังสุขภาพนักเรียน ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการผลผลิต และความพึงพอใจต่อแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองสำหรับนักเรียน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานแบบบันทึกๆจำนวนรวม 31 คน การสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานแบบบันทึกๆ และนักเรียน จำนวนรวม 25คน การศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจด้วยแบบสอบถามในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ศรีสะเกษ ราชบุรี ตรัง และกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,200 คน จาก 50โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิงวิเคราะห์โดยใช้ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริบท แบบบันทึกฯ สามารถตอบ วัตถุประสงค์โครงการและใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังสุขภาพสำหรับนักเรียนได้ ด้านปัจจัยนำเข้า จำนวนครูอนามัยไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน และส่วนใหญ่ไม่ได้รับการชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ รวมถึงวิธีการใช้แบบบันทึกฯ อีกทั้งไม่ได้รับอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น แผ่นวัดสายตา กราฟแสดงเกณฑ์การเจริญเติบโต นอกจากนี้ ไม่มีการ จัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการสำหรับหน่วยงานในพื้นที่ ด้านกระบวนการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่ได้บรรจุแผนการดำเนินโครงการไว้ในแผนปฏิบัติงานประจำปี และพบว่า นักเรียนที่ได้รับแบบบันทึกฯ ร้อยละ 18.5ไม่ได้รับการชี้แจงวิธีการใช้ ด้านผลผลิต นักเรียนที่นำแบบบันทึกฯ มาด้วยในวันสัมภาษณ์ ร้อยละ 55.3 ไม่ใช้แบบบันทึกฯ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่ไม่ใช้และใช้แบบบันทึกฯ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.05) ด้านความพึงพอใจ ครูอนามัยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อแบบบันทึกฯ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้