การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและ บริการทันตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของ อําเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2557-2559
คำสำคัญ:
การประเมินผล, การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, โรงเรียนประถมศึกษา, บริการทันตกรรมอย่างเป็นระบบบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้กรอบ oral health promotion evaluation outcome model เก็บข้อมูลในโรงเรียนประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกทั้ง 34 แห่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2557, 2558 และ 2559 จำนวน 2,341, 2,144 และ 2,256 คน ตามลำดับผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ด้านสังคมและสุขภาพ พบโรคฟันผุในเด็ก 12 ปีความชุกค่อนข้างคงที่ โดยมีค่าร้อยละ 49.7, 49.0 และ 50.9 แต่ค่าดัชนีฟัน ถอน อุด (DMFT) มีแนวโน้มลดลงโดยมีค่า 1.6+2.4, 1.4+2.0 และ 1.3+1.8 ซี่/คน ผลลัพธ์ระหว่างทางด้านสุขภาพ พบนักเรียนส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันโดยมีค่าร้อยละ 81.9, 80.8 และ 79.4 มีการจัดบริการอย่างเป็นระบบเอื้อให้นักเรียนที่มีฟันถาวรผุได้รับบริการเพิ่มขึ้นมีค่าร้อยละ 74.5, 92.2 และ 99.0 ยังมีการจำหน่ายอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากในโรงเรียนส่วนใหญ่ โดยโรงเรียนที่ควบคุมการบริโภคอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพช่องปากมีค่าเพียงร้อยละ 6.1, 9.4 และ 9.1 ผลลัพธ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ พบนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์แปรงฟันโดยผู้ปกครองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยมีค่าร้อยละ 91.6, 91.9 และ 95.0 โดยทุกโรงเรียนจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ปฏิบัติการด้านการส่งเสริมสุขภาพ มีการจัดการอบรมครูอนามัยทุกปีเพื่อคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชิดชูเกียรติโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น นักเรียนทุกคนผ่านการอบรมการดูแลสุขภาพช่องปากปีละ 1 ครั้ง ตัวชี้วัดที่ใช้วัดผลด้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่บรรลุตามเป้าหมาย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.