ผลของรูปแบบเตรียมความพร้อมก่อนฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเชียงคำ One Stop Service - Two Days Care ต่อความรู้ ความวิตกกังวล ความพึงพอใจในบริการและค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ผู้แต่ง

  • อรนุช ธรรมศร หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • ชัยพร การะเกตุ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • สุกัญญา เขียวสะอาด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคลิ้นหัวใจ, การฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ, ความรู้, ความวิตกกังวล, ความพึงพอใจในบริการและค่าใช้จ่ายในการรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการฉีดสีสวนหลอดเลือด-หัวใจเชียงคำ one stop service two days care ต่อความรู้ ความวิตกกังวล ความพึงพอใจในบริการและค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งมารับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจพิเศษโรคหัวใจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงมีนาคม 2559จำนวน 60 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจำนวน 30 รายและกลุ่มควบคุม 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความวิตกกังวล แบบสอบถามความรู้ ความพึงพอใจในบริการและรูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเชียงคำ one stop service two days care ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา วิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบียงเบนมาตรฐานและ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองที่ได้รับรูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเชียงคำ one stop ser-vice two day care มีระดับความรู้และความพึงพอใจในบริการมากกว่าผู้ป่วยควบคุมที่ได้รับการเตรียมตามปกติอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และผู้ป่วยในกลุ่มทดลองที่ได้รับรูปแบบดังกล่าวมีระดับความวิตกกังวล ค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยควบคุมที่ได้รับการเตรียมตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01ตามลำดับ สรุปการใช้รูปแบบดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความพึงพอใจมากขึ้น มีความวิตกกังวลและค่าใช้จ่ายแบบ ถั่วเฉลี่ยในการรักษาน้อยกว่าการใช้รูปแบบปกติ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ