ประเด็นท้าทายในระบบสุขภาพหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19: การสำรวจความคิดเห็นในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพ, ประเด็นท้าทาย, โควิด 19, บริการสุขภาพบทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ถือเป็นวิกฤตของระบบสุขภาพในการรับมือและบริหารทรัพยากรเพื่อตอบสนอง ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นโอกาสที่ผู้บริหารและบุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุขได้ทบทวนและถอดบทเรียนของระบบสุขภาพ ทั้งด้านการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ และการปรับรูปแบบการบริการสำหรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อเตรียมความพร้อมระบบสุขภาพไทยในอนาคต การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุประเด็นท้าทายในระบบสุขภาพประเทศไทยในยุคหลังสิ้นสุดการระบาดของ โรคโควิด 19 โดยมีวิธีวิจัยรูปแบบตัดขวาง ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (cross-sectional study) จากการเก็บข้อมูล แบบสอบถามออนไลน์ (SurveySparrow® ) ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต (scoping review) และคัดเลือกประเด็นท้าทาย 6 ประเด็นหลักที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ได้แก่ (1) ด้านบุคลากร (2) ด้านสิ่งแวดล้อม (3) ด้านการสื่อสาร (4) ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านสาธารณสุข (5) ปัจจัยทางสังคม และ (6) ด้าน เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความท้าทายในบริบทประเทศไทยและวิเคราะห์ ผลเพื่อจัดลำดับความสำคัญประเด็นท้าทายของระบบสุขภาพที่สามารถใช้เป็นจุดคานงัดในการพัฒนาระบบสุขภาพ ภายหลังการยุติการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 441 คน ร้อยละ 80.0 เป็นบุคลากรในหน่วยงานด้านสุขภาพ และส่วนใหญ่เห็นด้วยกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความท้าทายที่ ผู้วิจัยคัดเลือก และมีประเด็นอื่นๆ ที่กลุ่มตัวอย่างเสนอนอกเหนือมาเล็กน้อย โดยสรุป ผลการวิจัยเบื้องต้นสามารถ ใช้เป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อการพัฒนานโยบายและดำเนินการศึกษาต่อในเชิงลึกได้ โดยประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อระบบ สุขภาพของประเทศไทยต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ กองโรคติดต่อทั่วไป. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุม โรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 31 มี.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ files/2017420210820025238.pdf
Agarwal R, Gopinath G, Farrar J, Hatchett R, Sands P. A global strategy to manage the long-term risks of COVID-19. Washington DC: International Monetary Fund; 2022.
กองความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. สถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ ภายหลังการระบาด COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 31 มี.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www.nsc.go.th/ wp-content/uploads/Journal/article-00405.pdf
Bhatia R. Telehealth and COVID-19: using technology to accelerate the curve on access and quality healthcare for citizens in India. Technol Soc 2021;64:101465.
Ftouni R, AlJardali B, Hamdanieh M, Ftouni L, Salem N. Challenges of telemedicine during the COVID-19 pandemic: a systematic review. BMC Medical Informatics and Decision Making 2022;22(1):207.
Fernández-Portillo LA, Sianes A, Santos-Carrillo F. How will COVID-19 impact on the governance of global health in the 2030 Agenda Framework? The opinion of experts. Healthcare 2020;8(4):356.
Arora AK. The next three epochs: health system challenges amidst and beyond the COVID-19 era. Int J Health Plann Manage 2021;36(4):1366-9.
Bashier H, Ikram A, Khan MA, Baig M, Al Gunaid M, Al Nsour M, et al. The anticipated future of public health services post COVID-19: viewpoint. JMIR Public Health Surveill 2021;7(6):e26267.
Jusob FR, George C, Mapp G. A new privacy framework for the management of chronic diseases via mHealth in a post-Covid-19 world. Journal of Public Health 2022;30(1):37-47.
Wong ZS-Y, Rigby M. Identifying and addressing digital health risks associated with emergency pandemic response: problem identification, scoping review, and directions toward evidence-based evaluation. Int J Med Inform 2022;157:104639.
Ryan MS, Holmboe ES, Chandra S. Competency-based medical education: considering its past, present, and a post-COVID-19 era. Acad Med 2022; 97(3S):S90-7.
Teerawattananon Y, Painter C, Dabak S, Ottersen T, Gopinathan U, Chola L, et al. Avoiding health technology assessment: a global survey of reasons for not using health technology assessment in decision making. Cost Eff Resour Alloc 2021;19(1):62.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.