ประเมินผลกระบวนการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก พื้นที่กรุงเทพมหานครด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก
คำสำคัญ:
พัฒนาศักยภาพ, พระคิลานุปัฏฐาก, สุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระบวนการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากพื้นที่กรุงเทพมหานครด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก และหาแบบปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากด้านการดูแล สุขภาพช่องปาก โดยกำหนดประชากร คือ พระคิลานุปัฏฐาก จำนวน 726 รูป ที่จำวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ (1) พระคิลานุปัฏฐาก จำนวน 278 รูป จากการสุ่มตัวอย่าง (2) ทีมนำพระคิลานุปัฏฐากจำนวน 40 รูป (3) พระสังฆาธิการจำนวน 5 รูป เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ (1) แบบสอบถาม ได้ค่า IOC 0.97 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 (2) แบบสำหรับการสนทนารายกลุ่ม และ (3) แบบสำหรับสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกรายบุคคล สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ วิเคราะห์เนื้อหา ระยะเวลาศึกษาวิจัยคือ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ผลการศึกษาโดยใช้ กรอบแนวคิดประเมินผลตาม CIPP model พบว่า ระดับประเมินผลภาพรวมยู่ระดับมากทีสุด โดยค่าเฉลี ่ ่ยด้านผลผลิต และผลลัพธ์ คือ 4.25±0.65 และพบว่า รูปแบบปฏิบัติทีดีของการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากด้านการดูแล ่ สุขภาพช่องปากประกอบด้วยการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากและการนำนโยบายสู่การฝึกปฏิบัติ ร่วมกับการสร้างทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งได้แก่ การย้อมสีฟัน การแปรงฟัน การใช้ ไหมขัดฟัน และการใช้แปรงซอกฟัน ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มเติมกระบวนการสร้างความรอบรู้สุขภาพ พร้อมทั้งผลักดัน แบบปฏิบัติทีดีสู่มติคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ก่อนการอบรมภายใต้หลักสูตรพระคิลานุปัฏฐากในรุ่นต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมและสุขภาพจิต 2561. รายงานผลการสำรวจ ประจำปี 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.
สำนักงานเลขานุการกรม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2564.
โรงพยาบาลสงฆ์. รายงานประจำปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2564). แหล่งข้อมูล: https://www. priest-hospital.go.th/pdf/2563/mobile/index.html
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
MGR Online. พัฒนาหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐากดูแล พระสงฆ์อาพาธ จัดการปัจจัยเสียงสุขภาพพระ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://mgronline.com/qol/detail/9610000015455
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัดพระ อสว. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
ศูนย์อนามัยที่ 7 กรมอนามัย. ประเมินผลการดำเนินงาน พระคิลานุปัฏฐากในเขตรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 ก.พ. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://hpci.anamai.moph.go.th/hl/Res/ResList. aspx
พระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินธโร), พระมหาประยูรโชติวโร, วิสุทธิ บุญญะโสภิต, ทิพิชา โปษยานนท์, พินิจ ลาภธนานนท์, นงลักษณ์ ยอดมงคล และคณะ. ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2560.
Stufflebeam DL, editor. Educational evaluation and decision making. Illinois: FE Peacock Publishers; 1971.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30 (3):607-10.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.