ความสัมพันธ์ระหว่างการจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม การทรงท่าแบบคอยื่น การทรงท่าแบบห่อไหล่ และความยาวกล้ามเนื้อคอและไหล่ในผู้ป่วยโรคปวดคอ
คำสำคัญ:
โรคปวดคอ, การทรงท่าแบบคอยื่น ห่อไหล, การจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้มบทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคปวดคอมักจะมีการจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม ในทางทฤษฎี ความยาวของกล้ามเนื้อคอและไหล่อาจ ส่งผลต่อการทรงท่าแบบคอยื่นและห่อไหล่ และทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทดสอบ (1) ความแตกต่างของพิสัยการเคลื่อนไหวระหว่างผู้ป่ วยที่มีการทรงท่าปกติ คอยื่น ห่อไหล่ และมีการทรง ท่าที่ผิดปกติทั้ง 2 แบบ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกล้ามเนื้อคอและไหล่และการจำกัดการเคลื่อนไหวคอ ทิศก้ม และ (3) ความแม่นยำของความยาวกล้ามเนื้อคอและไหล่ในการพยากรณ์การจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม ในผู้ป่ วยโรคปวดคอ โดยใช้ข้อมูลจากแบบการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดในผู้ป่ วยโรคปวดคอ จำนวน 838 คน (อายุเฉลี่ย 48.3 ปี เพศหญิง 565 คน) เก็บข้อมูลพิสัยการเคลื่อนไหว การทรงท่า และความยาวของกล้ามเนื้อ สถิติ Kruskal-Wallis test ร่วมกับ post-hoc comparison ใช้ทดสอบความแตกต่างของพิสัยการเคลื่อนไหวระหว่าง ผู้ป่ วยที่มีการทรงท่าแบบต่างๆ ใช้สถิติ Chi-square เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกล้ามเนื้อและการ จำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม และสถิติ diagnostic accuracy เพื่อหาความแม่นยำในการพยากรณ์การจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่ วยโรคปวดคอที่มีการทรงท่าแบบคอยื่นมีการจำกัดการเคลื่อนไหวคอ ทิศก้มมากกว่าผู้ที่ไม่มีการทรงท่าแบบคอยื่นหรือแบบห่อไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากสถิติ Chisquare พบว่า การหดสั้นของกล้ามเนื้อ upper trapezius, pectoralis major และ pectoralis minor มีความสัมพันธ์กับ การจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อวิเคราะห์ความแม่นยำในการพยากรณ์ การจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม ความน่าจะเป็นในการจำกัดการเคลื่อนไหวเมื่อมีการหดสั้นของกล้ามเนื้ออยู่ที่ 1.07, 1.09, และ 1.18 ตามลำดับ และมีความแม่นยำในการพยากรณ์ ร้อยละ 64.0, 68.0 และ 61.0 ตามลำดับ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การปรับการทรงท่าของผู้ที่มีการทรงท่าแบบคอยื่นน่าจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม ได้ กล้ามเนื้อ upper trapezius, pectoralis major และ pectoralis minor น่าจะมีส่วนในการจำกัดการเคลื่อนไหวใน ทิศก้มคอ หากผู้ป่ วยมีการจำกัดการเคลื่อนไหวคอทิศก้ม จะทำให้การรักษาเฉพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Hoy DG, Protani M, De R, Buchbinder R. The epidemiology of neck pain. Best Pract Res Clin Rheumatol 2010;24(6):783-92.
Genebra C, Maciel NM, Bento TPF, Simeão S, Vitta A. Prevalence and factors associated with neck pain: a population-based study. Braz J Phys Ther 2017;21(4):274- 80.
Janwantanakul P, Pensri P, Jiamjarasrangsri V, Sinsongsook T. Prevalence of self-reported musculoskeletal symptoms among office workers. Occup Med 2008; 58(6):436-8.
Cagnie B, Danneels L, Van Tiggelen D, De Loose V, Cambier D. Individual and work related risk factors for neck pain among office workers: a cross sectional study. Eur Spine J 2007;16(5):679-86.
Kang JH, Park RY, Lee SJ, Kim JY, Yoon SR, Jung KI. The effect of the forward head posture on postural balance in long time computer based worker. Ann Rehabil Med 2012;36(1):98-104.
Kendall FP, McCreary EK, Provance PG, Rodgers MM, Romani WA. Muscles testing and function with posture and pain. 5th ed. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins; 2005.
Ariëns GA, Bongers PM, Douwes M, Miedema MC, Hoogendoorn WE, van der Wal G, et al. Are neck flexion, neck rotation, and sitting at work risk factors for neck pain? Results of a prospective cohort study. Occup Environ Med 2001;58(3):200-7.
McDonnell MK. Movement system syndromes of the cervical spine. In: Sahrmann SaA, eds. Movement system impairment syndromes of the extremities, cervical and thoracic spines. Missouri: Elsevier Mosby; 2011. p. 51-74, 92-3.
Page P, Frank C, Lardner R. Assessment and treatment of muscle imbalance: the Janda approach. Champaign, IL: Human Kinetics; 2010. p. 52-3, 105-8.
Wong CK, Coleman D, diPersia V, Song J, Wright D. The effects of manual treatment on rounded-shoulder posture, and associated muscle strength. J Bodyw Mov Ther 2010;14(4):326-33.
Sahrmann S. Diagnosis and treatment of movement impairment syndromes St. Louis: Mosby; 2002.
Janda V. Muscles and motor control in cervicogenic disorders: assessment and management. New York: Churchill Livingstone; 1994.
Nejati P, Lotfian S, Moezy A, Moezy A, Nejati M. The relationship of forward head posture and rounded shoulders with neck pain in Iranian office workers. Med J Islam Repub Iran 2014;28:26.
Khayatzadeh S, Kalmanson OA, Schuit D, Havey RM, Voronov LI, Ghanayem AJ, et al. Cervical spine muscle-tendon unit length differences between neutral and forward head postures: biomechanical study using human cadaveric specimens. Phys Ther 2017;97(7):756-66.
Yoo WG, An DH. The relationship between the active cervical range of motion and changes in head and neck posture after continuous VDT work. Ind Health 2009; 47(2):183-8.
Paris SV. Introduction to evaluation and manipulation of the spine. St. Augustine, Florida: Institute Press; 1988.
Petty NJ. Neuromusculoskeletal examination and assessment: a handbook for therapists. Edinburgh: Elsevier/ Churchill Livingstone; 2006.
Magee DJ. Orthopedic physical assessment. 6th ed. St. Louis: Elsevier Saunders; 2014.
Kim DH, Kim CJ, Son SM. Neck pain in adults with forward head posture: effects of craniovertebral angle and cervical range of motion. Osong Public Health Res Perspect 2018;9(6):309-13.
Quek J, Pua YH, Clark RA, Bryant AL. Effects of thoracic kyphosis and forward head posture on cervicalrange of motion in older adults. Man Ther 2013;18(1):65- 71.
Shahidi B, Johnson CL, Curran-Everett D, Maluf KS. Reliability and group differences in quantitative cervicothoracic measures among individuals with and without chronic neck pain. BMC Musculoskeletal Disorders 2012;13(1):215.
Johnson J. Postural correction. Champaign, IL: Human Kinetics; 2016.
Kang JI, Jeong DK, Choi H. Correlation between pulmonary functions and respiratory muscle activity in patients with forward head posture. J Phys Ther Sci 2018; 30(1):132-5.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.