ประสิทธิผลการใช้ท่าบริหารร่างกายมณีเวชของผู้ที่มีภาวะข้อไหล่ติดในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ ส่งคืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนอกเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • พงศกร ต้นวงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะอม จังหวัดสระบุรี
  • สิรินาถ อินทร์แช่มชื่น องค์การบริหารส่วนตำบลกระแซง จังหวัดปทุมธานี
  • ธานินทร์ สุธีประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุวรรณี เนตรศรีทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ผู้สูงอายุ, ภาวะข้อไหล่ติด, มณีเวช

บทคัดย่อ

ภาวะข้อไหล่ติดเป็นปัญหาสุขภาพทีพบได้ในผู้สูงอายุ ทำให้องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงและเป็นอุปสรรค ต่อกิจวัตรประจำวัน ท่าบริหารร่างกายมณีเวชเป็นการบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เป็นทางเลือกหนึ่งของ การบริหารร่างกาย งานวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลการใช้ท่าบริหารร่างกายมณีเวช กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากผู้ทีมีภาวะข้อไหล่ติดที ่ ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ ่ ทั้ง 5 ทิศทาง สมัครเข้าร่วมการศึกษาวิจัยและเป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย Appley Scratch Test เครื่องมือวัดข้อไหล่ Goniometer ท่าบริหาร ร่างกายมณีเวช สมุดบันทึกท่าบริหารร่างกาย แถบไต่ระดับความสูง และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า หลังจากใช้ท่าบริหารร่างกายมณีเวชระยะเวลา 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในท่า shoulder flexion ท่า shoulder extension และท่า internal rotation เพิ่มขึ้นและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 แต่ในท่า shoulder adduction และท่า external rotation ไม่แตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการใช้ท่าบริหารร่างกายมณีเวชภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด งานวิจัยเสนอให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำท่าบริหารร่างกายมณีเวช ไปเผยแพร่ให้แก่โรงเรียนหรือชมรมผู้สูงอายุอื่นที่สนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อไหล่ในผู้สูงอาย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Codman EA. The shoulder: rupture of the supraspinatus tendon and other lesions in or about the subacromial bursa. Boston: Thomas Todd; 1934.

Cadogan A, Mohammed KD. Shoulder pain in primary care: frozen shoulder. J Prim Health Care 2016;8(1):44- 51.

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค. 2562]. แหล่ง ข้อมูล: http://bangkokhealth.com/bhr/rps/index.html

Kelley MJ, McClure PW, Leggin BG. Frozen shoulder: evidence and a proposed model guiding rehabilitation. J Orthop Sports PhysTher 2009;39:135-48.

Dias R, Cutts S, Massoud S. Clinical review: frozen shoulder. BMJ 2005;331:1453-6.

กนกพร ก่อวัฒนมงคล. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่ เกี่ยวข้องของโรคข้อไหล่ติดในผู้ป่ วยศูนย์เวชปฏิบัติ- ครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้ องกันแห่งประเทศไทย 2562:9(1):59-72.

Van den Hout WB, Vermeulen HM, Rozing PM, Vliet Vlieland TP. Impact of adhesive capsulitis and economic evaluation of high-grade and low-grade mobilisation techniques. Aust J Physiother 2005;51:141-9.

Buchbinder R, Youd JM, Green S, Stein A, Forbes A, Harris A, et al. Efficacy and cost-effectiveness of physiotherapy following glenohumeral joint distension for adhesive capsulitis: a randomized trial. Arthritis Rheum 2007;57:1027-37.

ชยาภรณ์ โชติญาณวงษ์. ข้อไหล่ติด [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www. si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1283

กรมกิจการผู้สูงอายุ. จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 12 ต.ค. 2562]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.dop.go.th/th

โรงพยาบาลกรุงเทพ. ข้อไหล่ติดยึด ในผู้สูงอายุ [อินเทอร์- เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https:// www.bangkokhospi tal.com/th/disease-treatment /frozenshoulder-in-elderly

สายใจ นกหนู, มณีภรย์ บกสวัสดิ์ , มุคลิศ อาม๊ะ. ผลของ โปรแกรมการออกกำลังกายต่ออาการปวดและองศาการ เคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ยึดติด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10(1):88-98.

นภดล นิงสานนท์. มณีเวช เพื่อชีวิตง่ายๆ สบายๆ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี) 2554;3(5):1-13.

เพชรธยา แป้ นวงษา. ผลของการปรับสมดุลร่างกายด้วยมณี เวชต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http:// research.pcru.ac.th/rdb/published/datafilescreate/713

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

วิทวัส สิทธิวัชรพงศ์, วิจิตร บุณยะโหตระ. ประสิทธิผลของ การบริหารร่างกายแบบมณีเวช เพื่อลดอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อจากการทำงานในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://anti-aging.mfu.ac.th/File_PDF/research56/ Proceeding56_39.pdf

ประสิทธิ์ มณีจิระประการ. การจัดกระดูกแบบโบราณ-จีนอินเดีย [ซีดี-รอม]. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้