ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกสูงวัย โรงพยาบาลลำปาง

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา ผลประสิทธิโต กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
  • ชนินท์ ประคองยศ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ความร่วมมือในการใช้ยา, ทีมสหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลลำปางจัดตั้งคลินิกสูงวัยสำหรับดูแลผู้สูงอายุโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคเรื้อรัง ที่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ความร่วมมือในการใช้ยาจึงมีความสำคัญในการรักษาให้ได้ตามเป้ าหมาย การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้สูงอายุ คลินิกสูงวัย โรงพยาบาลลำปาง เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกสูงวัย โรงพยาบาลลำปางเป็นรายครั้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 จนถึงธันวาคม 2563 ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ความ ร่วมมือในการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาโดย สถิติ Fisher exact test และ Multiple logistic regression ผู้สูงอายุทั้งหมด 433 คน เข้ารับบริการ 1,364 ครั้ง ค่า มัธยฐานการมาติดตาม 2 (IQR: 1,4) ครั้ง อายุเฉลี่ย 79.3 (SD=8.3) ปี พบให้ความร่วมมือในการใช้ยาร้อยละ 75.1 และพบปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ ดังนี้ ผู้สูงอายุที ่ มีผู้ดูแลเรื่องการใช้ยามีความร่วมมือในการใช้ยา 1.49 เท่า ผู้สูงอายุ ่ ที่เป็นโรคหัวใจมีความร่วมมือในการใช้ยา 1.68 เท่า แต่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานมีความร่วมมือในการใช้ยาน้อย กว่าร้อยละ 44.0 และผู้สูงอายุที่เป็นโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความร่วมมือในการใช้ยาน้อยกว่าร้อยละ 73.0 ควร มีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ทีไม่มีผู้ดูแลเรื่องการใช้ยา โรคเบาหวาน โรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อ ่ เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาและส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถรักษาโรคได้ตามเป้ าหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่31 ธันวาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ8 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www. dop.go.th/th/know/side/1/1/335

Healthy Aging Team. The top 10 most common chron¬ic conditions in older adults, Chronic conditions for older adults [Internet]. 2021 [cited 2022 Feb 14]. Available from: https://ncoa.org/article/the-top-10- most-common-chronic-conditions-in-older-adults

Khairullah A, Platt B, Chater RW. Medication non-adherence in older adults: patient engagement solutions and pharmacist impact. Pharm Times 2018;50(11):38- 44.

Hugtenburg JG, Timmers L, Elders PJ, Vervloet M, van Dijk L. Definitions, variants, and causes of nonadherence with medication: a challenge for tailored interventions. Patient Preference and Adherence 2013:7:675-82.

Smaje A, Weston-Clark M, Raj R, Orlu M, Davis D, Rawle M. Factors associated with

medication adherence in older patients: a systematic review. Aging Medicine 2018;1(3):254-66.

Rich MW, Baldus Gray D, Beckham V, Wittenberg C, Luther P. Effect of a multidisciplinary intervention on medication compliance in elderly patients with congestive heart failure. American Journal of Medicine 1996; 101(3):270–6.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือแนวทางการการดำเนินงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพและประเด็นสำคัญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุในแผนกผู้ป่วยนอก. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2566.

Shruthi R, Jyothi R, Pundarikaksha HP, Nagesh GN, Tushar TJ. A study of medication compliance in geriat¬ric patients with chronic illnesses at a tertiary care hos¬pital. J Clin Diagn Res 2016;10(12):FC40-FC43.

Ubolwat S, Fuangchan A. Effect of multidisciplinary care on blood pressure in chronic kidney disease patients with hypertension, Thatako Hospital: preliminary study. Srinagarind Med J 2018;33(6):502-10.

กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล. ปัจจัยของผู้ป่วยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา งานบริบาลทางเภสัชกรรม โรงพยาบาลบางปลาม้า สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28:S107-19.

สุณี เลิศสินอุดม, วัชรา บุญสวัสดิ์, ฌานี สโมสร, สุธาร จันทะวงศ. การจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาโดยเภสัชกรในคลินิกโรคหืดอย่างง่าย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2551; 4(2):13-23.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ