การศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ทางเดินหายใจในพื้นที่กรุงเทพมหานครู พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • นภัทร วัชราภรณ์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • เตือนใจ นุชเทียน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • วนิดา ดิษวิเศษ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • ภัทรภา แก้วประสิทธิ์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • โสภณ เอี่ยมศิริถาวร สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง ไข้หวัดใหญ่, อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่, โรงพยาบาล, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

ไข้หวัดใหญ่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีอัตราป่วยสูงกว่าภาพรวมประเทศถึง 3 เท่า ระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ทางเดินหายใจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาล พื้นที่ กทม. โดยศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังและกลไกการทำงานสำหรับโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลทั้ง 45 แห่งใน กทม. ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลทุกแห่งทราบว่าโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังในระบบรายงาน 506 และทุกแห่งมีการทำรายงาน 506 ส่วนการจัดทำระบบเฝ้าระวังอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ดำเนินการเพียงบางแห่ง (ร้อยละ 77.8) ทั้งสองระบบดำเนินการโดยพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ (ICN) ของโรงพยาบาล มีการตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธี rapid test มากที่สุด (ร้อยละ 81.8) มีห้องความดันลบ (negative presure room) และห้อง modified airborne infecion isolation room (AIR) ไว้สำหรับแยกผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงร้อยละ 35.6 มีจุด คัดกรองสำหรับโรคทั่วไปร้อยละ 68.2 มีเพียงร้อยละ 9.1 ที่ตั้งเป็นจุดคัดกรองโรคไข้หวัดใหญ่รวมกับโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ บุคลากรของโรงพยาบาลได้รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรี ร้อยละ 71.1 จากการ สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มพบว่า ระบบการคัดกรองโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของโรงพยาบาลยังไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุม มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ที่คับแคบและห้องไม่เพียงพอ มีการนำข้อมูลเฝ้าระวังไปใช้ประโยชน์น้อยขาดการวิเคราะห์ทางสถิติ และจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ พบว่ามีความไวของการรายงาน ร้อยละ 27.5 ค่าพยากรณ์บวกของการรายงาน ร้อยละ 26.6 สามารถรายงานได้ทันเวลาภายใน 3 วัน ร้อยละ 52.5 ข้อเสนอเชิงนโยบายได้แก่ พัฒนานโยบายด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคร่วมกับสมาคมโรงพยาบาลเอกชน สร้างและพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน สนับสนุนให้โรงพยาบาลเอกชนมีการฉีดวัคซีนฟรีแก่บุคลากรให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม สนับสนุนให้โรงพยาบาลส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการให้ทราบ Subtype ของไวรัส เพื่อเป็นข้อมูลด้านระบาดวิทยาในการเฝ้าระวังสายพันธุ์และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในแต่ละปี และใช้วางแผนบริหารจัดการเรื่องยาและวัคซีน เพิ่มความเข้มแข็งของระบบควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเอกชน โดยมีแผนเตรียมความพร้อม และส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่รวมทั้งโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้ควรมีนโยบายสนับสนุนให้โรงพยาบาลเอกชนมีห้องแยกจำนวนเพียงพอ โดยอาจพิจารณาสนับสนุนงบประมาณร่วมภาครัฐและเอกชนหรือปรับปรุงห้อง ATIR หากมีแผนกผู้ป่วยในสำหรับโรคปอดอักเสบ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้