การรับรู้ ทัศนคติ และความรอบรู้ด้านวัคซีนโรคโควิด 19 ของประชาชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เกตุนรินทร์ บุญคล้าย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ กรุงเทพมหานคร
  • วรรณชาติ ตาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • อนุศร การะเกษ โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  • พิชญาณัฏฐ์ แก้วอำไพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • นนทรัตน์ จำเริญวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การรับรู้, ทัศนคติ, ความรอบรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติและความรอบรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด 19 ของประชาชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 60 ปี เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูล วัคซีนโควิด 19 (3) แบบวัดทัศนคติข้อมูลวัคซีนโควิด 19 และ (4) แบบสอบถามความรอบรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 432 ราย โดยการส่งต่อแบบสอบถาม อิเล็กทรอนิกส์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2564 – มกราคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 โดยภาพรวมปานกลาง ทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และความรอบรู้เกี่ยว กับวัคซีนโควิด 19 โดยภาพรวมความรอบรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 อยู่ในระดับสูง โดยแยกตามองค์ประกอบความ รอบรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 พบว่า ความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้ เท่าทันสื่อ ทักษะการตัดสินใจอยู่ระดับสูง มีเพียงทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง โดยการรับรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ความสัมพันธ์ทางบวกกับความรอบรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลแนวทางส่งเสริมการรับรู้และความรอบรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 โดยเน้นทักษะสื่อสารข้อมูลทางสุขภาพด้วยภาษาที่เข้าถึงและเข้าใจง่าย ในบทบาทของทีมสุขภาพให้ผู้รับบริการ ให้ สอดคล้องกับความต้องการในบริบทด้านสุขภาพของกลุ่มเป้ าหมาย พร้อมสร้างแรงจูงใจสู่การตัดสินใจทางสุขภาพ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ที่เหมาะสมจนนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี เพื่อลดความรุนแรงของการดำเนินโรคและการ เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

Word Health Organization. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation report–43 [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 21]. Available from: https://www.who. int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200303-sitrep-43-covid-19.pdf?sfvrsn=2c21c09c_2

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ โรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 21 ม.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/gui_ covid19_phase.php

ประภัสสรา พงศ์พันธุ์พิศาล, มนทยา สุนันทิวัฒน์, สมหญิง พุ่มทอง, ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. ผลกระทบด้านสุขภาพจาก สถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ต่อผู้ที่มีความบกพร่อง ทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยระบบสาธารสุข 2565;16(2):169-82.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีน โควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564.

บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, สมบัติ ทีฆทรัพย์. แนวคิดและทิศทาง การแก้ปัญหาโควิด 19.วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2563;20(1):1-12.

Huang Y, Zhao N. Generalized anxiety disorder, depressive symptoms and sleep quality during COVID-19 outbreak in China: a web-based cross-sectional survey. Psychiatry Research 2020;288:1129-54.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการ ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชน ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัย พยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):33-48.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา.ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้ องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบล ปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(5):597-604.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่อง การป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการ พยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2564;21(2):4-19.

Reuben RC, Danladi MM, Saleh DA, Ejembi PE. Knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: an epidemiological survey in North-Central Nigeria. J Community Health 2020;7:1-14.

Puspitasari IM, Yusuf L, Sinuraya RK, Abdulah R, Koyama Knowledge, attitude, and practice during the COVID-19 pandemic: a review. J Multidiscip Health 2020;13:727- 33.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับ วัคซีนโควิด 19 และข้อกังวลในบุคลากรในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(1):47-57.

Zhang M, Zhou M, Tang F, Wang Y, Nie H, Zhang L, et al. Knowledge, attitude, and practice regarding COVID-19 among healthcare workers in Henan, China. J Hosp Infect 2020;105(2):183-7.

Olum R, Chekwech G, Wekha G, Nassozi DR, Bongomin F. Coronavirus disease-2019: knowledge, attitude, and practices of health care workers at Makerere University Teaching Hospitals, Uganda. Front Public Health 2020; 8:181-90.

Saqlain M, Munir MM, Rehman SU, Gulzar A, Naz S, Ahmed Z, et al. Knowledge, attitude, practice and perceived barriers among healthcare workers regarding COVID-19: a cross-sectional survey from Pakistan. J Hosp Infect 2020;105(3):419-23.

สมชาย ภานุมาสวิวัฒน์, อนุศร การะเกษ, วรรณชาติ ตาเลิศ, เกตุนรินทร์ บุญคล้าย, กรรณิกา เพ็ชรักษ์. ความรอบรู้ด้าน วัคซีนโควิด 19 กับความตั้งใจการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(ฉบับเพิ่มเติม 1):S3-14.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine (2008);67(12):2072-8.

Luigi RB, Guglielmo B, Chiara L, Sergio P. Assessing COVID-19 vaccine literacy: a preliminary online survey. Human Vaccines & Immunotherapeutic 2021;17(5): 1304-12.

อธิวัฒน์ กุลบุตร, ณัฐพล ลาวจันทร์, สุพล วังขุย,อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. ความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 และการตัดสินใจรับวัคซีนของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ 2565;2(1):32-42.

ไมลา อิสสระสงคราม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการ ป้องกันโรคโควิด 19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีน โรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 10 2564;19(2):56-67.

Biasio LR, Bonaccorsi G, Lorini C, Pecorelli S. Assessing COVID-19 vaccine literacy: a preliminary online survey. Hum Vaccines & Immune Therapeutics 2021; 17(5):1304-12.

ชุติมา บุญทวี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (COVID-19) เข็มกระตุ้นของ บุคลากรกลุ่ม งานพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2565;2(2): 49-60.

บวรลักษณ์ ขจรฤทธิ์ , บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://mmm. ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070058.pdf

จิดาภา ภูวกรกุลวุฒิ, ภาวิณี อุปมาณ, อชิรพจณิชา พลายนาค. ทัศนคติในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ศูนย์ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2565; 14(27):13-23. 26. Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational Behavior & Human Decision Process 1991;50(2):179- 212.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้