ความรอบรู้ทางสุขภาพและการแบ่งปันข้อมูลในการนำสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเองจากโควิด-19 ทางสื่อสังคมออนไลน์ของประชากรไทย พ.ศ. 2565

ผู้แต่ง

  • รัชนี จันทร์เกษ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  • ณัชชา พัฒนะนุกิจ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กนกรัตน์ ยศไกร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วัชราภรณ์ นิลเพ็ชร์ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, การแบ่งปันข้อมูล, สมุนไพรไทย, โควิด-19, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ทางสุขภาพ แรงจูงใจในการแบ่งปันข้อมูล จากสื่อสังคมออนไลน์ และสำรวจความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการนำสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเองจากโควิด-19 ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิง ปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลช่วงวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 1 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้คำถามคัดกรองเจาะจงผู้เปิ ดรับสื่อสังคมออนไลน์ ช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 ของ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ผลการศึกษามีดังนี้ (1) สถานการณ์ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับ การนำสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเองจากโควิด-19 ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 พบว่า มีความ เชื่อมโยงกับเนื้อหาสารที่ผลิตทางสื่อต่างๆ เดิมประชาชนไทยมักเป็นผู้รับสารที่เป็นผู้รอข่าวสารที่ส่งมา (passive audience) แต่เหตุการณ์ครั้งนี้บทบาทกลายเป็นผู้แสวงหาข่าวสารด้วยตนเอง (active audience) เนื่องจากเห็นว่า ปัญหาจากโควิด-19 เป็นเรื่องใกล้ตัวและรุนแรง จึงไขว่คว้าหาความรู้และร่วมมือปฏิบัติตามข้อมูลที่ได้รับทางสื่อ ออนไลน์ (2) แรงจูงใจการแบ่งปันข้อมูลฯ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 92.5 แยกรายด้านพบว่า ด้านความ คาดหวังการแลกเปลี่ยนข้อมูลแก่ผู้อื่น อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.9 ด้านการเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่นำสมุนไพร ดูแลสุขภาพตนเองจากโควิด-19 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.8 ด้านความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน อยู่ใน ระดับมาก ร้อยละ 83.2 และความรู้สึกว่าตนมีความสามารถอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 82.7 และ (3) การสำรวจความ รอบรู้ทางสุขภาพ พบว่า คนไทยสามารถเข้าถึงพื้นฐานความรู้ด้านสุขภาพ ที่นำไปสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจด้าน สุขภาพที่เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 95.3 เป็นความมุ่งหวังการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรของประชาชน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมควรพัฒนากิจกรรมที่จะเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนทุกช่วงวัยในทุกมิติ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสังคมควรมีการนำองค์ความรู้ด้านสมุนไพรไทยบรรจุในแบบเรียนทุกระดับชั้น และส่ง เสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นการสร้างความรอบรู้อย่างยั่งยืนในสังคมไทย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการ แพทย์ทางเลือก.“ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรไทยในวิกฤต COVID-19. การเสวนาวิชาการ (DTAM Forum); 17 มิถุนายน 2564; กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2564.

พรรณวดี ชัยกิจ, สุมนทิพย์ จิตสว่าง. การแพร่กระจายของ ข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ มาตรการป้ องกันของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์ 2564;15(40): 15-32.

เหมือนฝัน ไม่สูญผล. กระบวนการสื่อสารสุขภาพในบริบท การแพทย์แผนไทย [วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2557. 282 หน้า.

สิริลักษณ์ อุบลรัศมี. การเปิดรับสื่อ การแบ่งปันข้อมูล และ การรู้ เท่าทันข้อมูลด้ านสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560. 114 หน้า.

สำนักบริหารการทะเบียน. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียน ราษฎร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.posttoday.com/politics/673371

Taro Y. Statistic: An introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row; 1970.

Likert R. The method of constructing and attitude scale. In: Fishbein, M (Ed.), Attitude theory and measurement. New York: Wiley & Son; 1967. p. 90-5.

กรมอนามัย. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานโครงการขับ เคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ ประชาชน; 2561. 32 หน้า.

Sørensen K, Brand H. Health literacy lost in translations? Introducing the European Health Literacy Glossary. Health Promot Int 2014;29(4):634-44.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30:607-10.

Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers; 1990.

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://doh. hpc.go.th/data/HL/HLO_chanuanthong.pdf

รพีพรรษ รัตนวงศ์นรา. ทำไมฉีด “วัคซีน” แล้ว ยังติดโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.sanook.com/health/30153/

กระทรวงสาธารณสุข. สธ.เตรียมทดลองฟ้ าทะลายโจร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์ สไตล์/151474.

สุรศักดิ์ สุนทร, ศรีสุดา งามขำ, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, บุญเตือน วัฒนกุล, ศุทธินี วัฒนกูล. การประเมินผลระบบ บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานใน สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/EL5i1

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว, วราพรรณ อภิศุภะโชค. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและ พฤติกรรมการป้องกันโรค ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564;8(9):18-33.

กรมสุขภาพจิต. สมุนไพรไทย ตัวช่วยต้านโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30588

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. คู่มือ การดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและ สมุนไพร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8731

กรุงเทพธุรกิจ. สัญญาณ “โควิด” ไทยขาลง พร้อมสู่โรคประจำถิ่น [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.bangkokbiznews.com/social/1002153

สถานีสุขภาพ. แนะวิธีรักษาฟื้ นฟูร่างกาย เมื่อมี อาการ “ลอง โควิด” (Long COVID) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล:https://www.pptvhd36.com/health/news/689

ณัฐริกา พร้อมพูน, กฤษิณี เหลื่อง, วรางคณา คงสวัสดิ์ , กฤติญา เส็งนา, ภูษณิศา มีนาเขตร. ความรอบรู้ทางสุขภาพ ด้านการป้องกันโรคโควิด-19 และพฤติกรรมสุขภาพแบบ ชีวิตใหม่ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2565;1(1):15-27.

วิชัย เทียนถาวร, ณรงค์ ใจเที่ยง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มวัยเรียน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ สุขภาพ 2564;4(2):126-37.

ดุสิดา พุทธิไสย, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. การเข้าถึงสื่อสังคม ออนไลน์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร 2562;14(1):124-41.

เสาวภา ดงหงษ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของทหาร กองประจำการ จังหวัดชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29(2):13-23.

กัลย์ ปิ่นเกษร. การแบ่งปันความรู้เชิงปรนัยและการแบ่งปัน ความรู้ที่ชัดแจ้งของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560. 412 หน้า.

พุฒิสรณ์ ย่อมเจริญ. การแบ่งปันข้อมูลการดูแลสุขภาพบน เครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ 2559;2(4):6-20.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้