การวิจัยเพื่อศึกษาระบบการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ โรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ โรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • ศุภฌา พิพัฒน์นรเศรษฐ โรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชนากานต์ อนันตริยกุล โรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การวิจัยเพื่อศึกษาระบบ, การป้องกันและควบคุมโรค, โรคไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาระบบการป้ องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของระบบการป้ องกันและควบคุมโรคไวรัสโควิด-19 ของโรงพยาบาล และนำไปพัฒนาระบบ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง บุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 36 ราย โดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาปัจจุบันการเตรียมความพร้อมของระบบการป้ องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของ โรงพยาบาล ในภาพรวมจาก 38 ประเด็นอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือในระดับมากที่สุด (ค่า เฉลี่ยเท่ากับ 5.00) ได้แก่ โรงพยาบาลมีศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (emergency operations centre: EOC) โรงพยาบาลมีการประชุมคณะกรรมการและผู้ปฏิบัติประจำศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ทุกเดือน จากแบบสัมภาษณ์พบว่า ระบบการป้ องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของโรงพยาบาล พบว่า มีการถ่ายทอดนโยบาย มาตรการจากคณะกรรมการ EOC ของโรงพยาบาลสู่ผู้ปฏิบัติในหน่วยงาน ติดตามและปฏิบัติการตามมาตรการของ การควบคุมโรค ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเมื่อมีการปรับมาตรการควบคุมโรค มีการปฏิบัติตามแนวทาง การควบคุม การคัดกรองของโรงพยาบาล มีการปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดตามสถานการณ์ เนื่องจาก บุคลากรไม่เพียงพอได้มีการอนุมัติอัตรากำลังเพื่อรองรับปริมาณที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนามีการเตรียม ความพร้อมในการบริหารจัดการ การป้ องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยจุดสำคัญคือ การตั้งทีมของ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (emergency operations center: EOC) และการจัดการประชุมเพื่อการ พัฒนาระบบงานทุกเดือนอย่างเป็นลำดับชั้นผู้บริหาร และปฏิบัติ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization, 2020. WHO coronavirus (COVID-19) [Internet]. [cited 2022 Sep 10]. Available online: https://covid19.who.int/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 48 ง (ลง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).

อนุตรา รัตน์นราทร. รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและ นอกประเทศจีน. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2): 116-23.

Kemmis S, McTaggart R. Participatory Action Research: Communicative Action and the Public Sphere. In: Denzin N, Lincoln Y. Handbook of Qualitative Research. 3rd ed. California: Sage Publication 2005;23:559-603.

Jennings-Sanders A, Frisch N, Wing S. Nursing students’ perceptions about disaster. Disaster Management and Response 2005;3(3):80-5.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Psycholological measurement 1970.

กฤษดา รัตนเจริญ. การบริหารจัดการการแพร่ระบาดของ โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษา อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www3. ru.ac.th/mpaabstract/index.php/abstractData/viewIndex/537

วิรัช ประวันเตา, พรสุรางค์ ราชภักดี, ศรายุธ อุตตมางคพงศ์. การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการและระบบบัญชาการเหตุการณ์ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในเขตสุขภาพที 2 พิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค 256;47(2):396-408.

ภมร ดรุณ, ชำนาญ ไวแสน, อมรรัตน์ แก้วนิสสัย, วรวุฒิ แสงเพชร. การประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคไข้เลือดออก จังหวัดบึงกาฬ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2563;3(2):3-17.

ธัญพร จรุงจิตร. ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolationโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/87b665321a99 338968db1edca19a3910.pdf

นาธาน กุลภัทรเวท, เอนก มุ่งอ้อมกลาง, สมรักษ์ ศิริเขตรกรณ์. รายงานการสอบสวนการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัด อุบลราชธานี กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและวิจัย สำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี 2563;18(1):57- 67.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของ ประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):33-48.

อุษา คำประสิทธิ์ . การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(1):30-44.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ