การประเมินผลการดำเนินงานการคัดกรองบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัด

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข
  • วไลลักษณ์ พุ่มพวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รภัสพิศา ธนสิษฐ์จำรูญ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การคัดกรอง, การบำบัดรักษาและฟื้นฟู, ประมวลกฎหมาย พ.ศ. 2564, พื้นที่ต้นแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การดำเนินงานด้านการคัดกรอง การบำบัดรักษา การฟื้ นฟู สมรรถภาพ การฟื้ นฟูสภาพทางสังคมผู้ติดยาเสพติด ปัญหาอุปสรรค และปัจจัยเอื้อสนับสนุนในพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัด เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มด้วยคำถามกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลหลัก 44 คน โดยใช้วิธี การเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย บุคลากรในส่วนงานสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา และบุคลากรในส่วนงานมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่ ปลัดอำเภอ ตำรวจ ผู้นำชุมชน ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้ นฟูผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติให้ ใช้ประมวลกฎหมาย พ.ศ. 2564 ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส อุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษา หลังจากมีนโยบายในการดำเนินงานให้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายใหม่ พบแก่นสาระสำคัญในการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบทั้ง 5 จังหวัด สามารถแบ่ง เป็น 3 ส่วน คือ (1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ การพัฒนาบุคลากร การเตรียมพื้นที (2) ่ กระบวนการดำเนินงาน ได้แก่ ช่วงเปลี่ยนผ่าน การทำงานเชิงรุก การประสานภาคีเครือข่าย และการใช้ชุมชนเป็น ศูนย์กลาง (3) ผลการดำเนินงาน พบว่า มีการดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มี ความพร้อมเป็นศูนย์คัดกรองในทุกจังหวัดและขยายการจัดตั้งทุก รพ.สต. เป็นศูนย์คัดกรองให้ครบทั้งจังหวัด แต่ การจัดตั้งศูนย์ฟื้ นฟูสภาพทางสังคมในจังหวัดยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ยกเว้นกรุงเทพมหานครมีการจัดตั้งในทีว่าการ ่ เขตของกรุงเทพมหานคร การนำส่งเข้าสู่ระบบมีเพิ่มขึ้นจากโครงการ re-X ray แต่ผู้ที่สมัครใจมารับบริการเองมี จำนวนน้อย และพบปัจจัยอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่ ความไม่เข้าใจในกฎหมายในการนำไปปฏิบัติงาน ความ ไม่พร้อมของบุคลากรในการจัดบริการใน รพ.สต. การจัดระบบการส่งต่อและติดตามผู้รับบริการการประสานงาน ระหว่างส่วนงาน เป็นต้น ข้อเสนอเชิงนโยบายควรส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม ขึ้น ทะเบียนศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้ นฟูสภาพทางสังคม ให้ครอบคลุมทุกตำบล และขึ้นทะเบียนผู้จัดการรายกรณี (case manager) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างการคัดกรอง การบำบัดรักษาและการฟื้ นฟูสภาพทางสังคม โดยจัดทำหลักสูตรE–learning สำหรับพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในศูนย์คัดกรอง ศูนย์ฟื้ นฟูสภาพทางสังคม และ case manager และมี เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรบูรณาการ การทำงานระหว่าง ศูนย์คัดกรอง และศูนย์ฟื้ นฟูสภาพทางสังคมที่ขึ้นทะเบียนในพื้นที่ให้มีบทบาทร่วมกันในการบำบัดฟื้ นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยชุมชนเป็น ฐาน หรือ community-based treatment (CBTx)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามยาเสพติด, กระทรวงยุติธรรม. แผนปฏิบัติการด้านการป้ องกันและปราบ ปรามยาเสพติด พ.ศ.2563-2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ProgramsandActivities

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, กระทรวงสาธารณสุข. ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูลhttps:// mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/wp-content/uploads/2021/11/Act_Narcotic64_091164.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามยาเสพติด, กระทรวงยุติธรรม. ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ รายงานประจำปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.oncb.go.th/ DocLib/ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ%20ปี %202564.pdf

บุรฉัตร จันทร์แดง. บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560;4(2):37-56.

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. ยาเสพติด: ปัญหาภัยแทรกซ้อน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.parliament.go. th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link. php?nid=45110

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้ นฟูผู้ ติดยาเสพติด, กองบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// phdb.moph.go.th/main/upload/ebook/web/2022050 2112432/mobile/index.html

ศูนย์อำนวยการป้ องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://ncmc.moph.go.th/home/upload/web_ download/1doxcsiqctdwos4w4g.pdf

Michie S, Atkins L, West R. The behavior change wheel: a guide to designing interventions. London: Silverback Publishing; 2014.

สำนักงาน ปปส. กระทรวงยุติธรรม. ที่มาของนโยบายยาเสพติดแนวใหม่ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. oncb.go.th/PublishingImages/Lists/ONCBNews1/AllItems/book-%20(1).pdf

ชรัส บุญณสะ. ปัญหาในการบูรณาการการแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้ว่าราชการจังหวัด. วารสารดำรงราชานุภาพ 2561;18(57):14-25.

ศศิวิมล คำเมือง, สระเกตุ ปานเถื่อน, ธีรดนย์ คงสิทธิ์ รัตนตระกูล. การศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการนำ นโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษา โครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ. สถาบันพัฒนาการเรียน รู้ศาสตร์สมัยใหม่ 2565;7(6):367-76.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// drive.google.com/drive/folders/1X7Riv5ISDG9CuLdD8fEBlKE4xBX1qBeB

อัครพล คุรุศาสตรา, บรรณาธิการ. แนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง. นนทบุรี: ศูนย์อำนวยการป้ องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

อาภาศิริ สุวรรณานนท์. การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้าน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 2560;11(2): 213-222.

กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร, เนาวรัตน์ เกษมพร, ภาสินี โทอินทร์, นวลละออง ทองโคตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษายาเสพติดซ้ำของผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์- สุขภาพ 2564;15(2):1-12.

อัครพล คุรุศาสตรา. การปฏิรูปด้านบำบัดฟื้ นฟูยาเสพติด แนวทางที่เหมาะสมสำหรับกระทรวงสาธารณสุข สำนักสถาน พยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. วารสารวิชาการกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ 2562;15(2):6-10.

วนิตตา พิทยาเรืองนนท์, อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์. ปัญหาในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด: กรณีศึกษาในสถานพยาบาลของรัฐ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา 2565;5(2):94-102.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์, ชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วน บุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561; 11(4):47-57.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้