ประสิทธิผลและความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยอายุรกรรม

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา เลาหธนาคม หอผู้ป่วยอายุรกรรม 3 โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางคลินิก, การดูแลทางโภชนาการ, ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง, หลักฐานเชิงประจักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลโภชนาการผู้ป่ วยที่ให้อาหารทางสายยาง และศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกกับผู้ป่ วยทีให้อาหารทางสายยาง เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยกลุ่มตัวอย่าง ่ ประกอบด้วยผู้ป่ วยก่อนใช้แนวปฏิบัติในเดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และผู้ป่ วยที่มีการใช้แนว ปฏิบัติในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563 รวมทั้งพยาบาล 19 ราย และแพทย์ 9 ราย โดยใช้แนวคิดการพัฒนา แนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ปี 1999 (National Health and Medical Research Council) แบ่งระดับความน่าเชื่อถือและคุณภาพของหลักฐานอ้างอิงและข้อเสนอแนะในการนำไปปฏิบัติ ตาม เกณฑ์ของสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ปี 2561 (Society of Parenteral and Enteral Nutrition of Thailand: SPENT) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแล ทางโภชนาการผู้ป่ วยที่ให้อาหารทางสายยาง และเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบติดตามการดูแล ทางโภชนาการ ในผู้ป่ วยที่ให้อาหารทางสายยาง (2) แบบติดตาม Gastric residual volume (GRV) (3) แบบสอบถาม ความเป็นไปได้ของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ (4) แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแพทย์ผู้ใช้แนวปฏิบัติ การตรวจ สอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (CVI=0.87) การตรวจหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ค่า สัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค=0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ independent t-test สาระสำคัญของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลโภชนาการผู้ป่ วยทีให้อาหารทางสายยาง ประกอบ ่ ด้วย (1) การคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการ (2) ข้อบ่งชี้และเวลาที่เริ่มให้อาหารทางสายยาง (3) ช่อง ทางการให้โภชนบำบัด (4) ความต้องการสารอาหารตามดุลยพินิจของแพทย์ (5) การให้อาหารเข้าทางเดินอาหาร (6) การบริหารยาผ่านสายให้อาหาร ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก (39 ราย) กับกลุ่ม ก่อนใช้ (39 ราย) พบว่ามีการส่งผู้ป่ วยปรึกษาโภชนากรเพื่อการปรับสูตรอาหารเพิ่มมากขึ้น (p<0.05) ระดับความ เปลี่ยนแปลงคะแนน NAF ระดับความเปลี่ยนแปลงของค่า serum albumin, total lymphocyte count และ hemoglobin ของกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกดีขึ้น มากกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก (p<0.05) ผู้ป่ วยกลุ่ม moderate และ severe malnutrition โดยกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกได้อาหารทางสายยางอย่างเร็วภายใน 24 ชั่วโมง แรกทุกราย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเกลือแร่ผิดปกติจากการเพิ่มพลังงานและสารอาหาร และระยะเวลาคาท่อ ช่วยหายใจลดลง (p<0.05) แต่พบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่วนความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาล และแพทย์ เฉลี่ยร้อยละ 89.47 และ 95.77 ตามลำดับร่วมกับมีข้อเสนอแนะว่า แนวปฏิบัติทางคลินิกทำให้หน่วย งานมีการคัดกรองความเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการ และการให้โภชนบำบัดที่เหมาะสม เกิดความร่วมมือของสหสาขา วิชาชีพ เพิ่มระดับโภชนาการของผู้ป่ วยให้ดีขึ้น ควรขยายผลการวิจัยไปยังหอผู้ป่ วยอื่น

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์. เวชบำบัดวิกฤตศัลยศาสตร์ใน เวชปฏิบัติ=Surgical critical care in practice. เชียงใหม่: คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

Barker LA, Gout BS, Crowe TC. Hospital malnutrition: Prevalence, identification and impact on patients and the healthcare system. Int J Environ Res Public Health 2011; 8(2):514-27.

Chittawatanarat K, Chaiwat O, Morakul S, Kongsayreepong S. Outcomes of nutrition status assessment by Bhumibol Nutrition Triage/Nutrition Triage (BNT/NT) in multicenter THAI-SICU study. J Med Assoc Thai 2016;99(Suppl 6):S184-92.

มณีรัตน์ ศรีสวัสดิ์ , พรรณวดี พุธวัฒนะ, มณี อาภานันทิกุล. ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั่วไป. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555;18(3):327- 42.

ขวัญชนก เจนวีระนนท์. เครื่องมือคัดกรองและประเมิน ภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่ วยที่รักษาในโรงพยาบาล: การ ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.

โรงพยาบาลำปาง. สถิติทะเบียนหอผู้ป่วยอายุรกรรม 3. ลำปาง: โรงพยาบาลลำปาง; 2563.

สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่ง ประเทศไทย. คำแนะนาการดูแลการให้อาหารทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล พ.ศ. 2562 [อินเทอร์- เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.spent.or.th/index.php/publication/category/gl/2019

สุกัญญา เลาหธนาคม, นริสรา นาสี, อัจฉราภา ใจแก้ว, นิลุบล บุญมา, ณัฐธยา วชิรพันธุ์สกุล. แนวปฏิบัติทางคลินิกในการ ดูแลโภชนาการผู้ป่วยให้อาหารทางสายยาง (enteral feeding). ลำปาง: โรงพยาบาลลำปาง; 2562.

Miller RG, Jackson CE, Kasarskis EJ, England JD, Forshew D, Johnston W, et al. Practice parameter update: the care of the patient with amyotrophic lateral sclerosis: drug, nutritional, and respiratory therapies (an evidence-based review): report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology. Neurology 2009;73(15):1218-26.

Friedli N, Stanga Z, Culkin A, Crook M, Laviano A, Sobotka L, et al. Management and prevention of refeeding syndrome in medical inpatients: an evidence-based and consensus-supported algorithm. Nutrition 2018; 47:13–20.

Wells DL. Provision of enteral nutrition during vasopressor therapy for hemodynamic instability: an evidence-based review. Nutr Clin Pract 2012;27(4):521–6.

National Health and Medical Research Council (NHMRC). A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline [Internet]. 1999[cited 2018 Jul 10]. Available from: https://www.health. qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/ nhmrc_clinprgde.pdf

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. การวิจัยและพัฒนา (research & developmen: R&D) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วม (participatory action research: PAR) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 เม.ย 2564]. แหล่งข้อมูล: https://shorturl. asia/4zAlC

Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

แสงไทย ไตรยวงค์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ . ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับให้อาหารผ่านทางเดินอาหารในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561; 21(3):22-33.

อภิวรรณ อินทรีย์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้ แนวปฏิบัติทางคลินิกในการให้สารอาหารในผู้ป่วยวิกฤต ศัลยกรรมอุบัติเหตุ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2562;25(2):118-37.

Sun DL, Li WM, Li SM, Cen YY, Lin YY, Xu QW, et al. Impact of nutritional support that does and does not meet guideline standards on clinical outcome in surgical patients at nutritional risk: a prospective cohort study. Nutr J 2016;15(1):78.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ