การพัฒนารูปแบบการตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายในหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก เสาวรัจ กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการปฏิบัติงาน และพัฒนารูปแบบการตรวจสอบและ ประเมินผล รวมทั้งประเมินประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ถึงสภาพ ปัญหาของการปฏิบัติงานการตรวจสอบและประเมินผล และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมินผลความพึงพอใจในประสิทธิผลของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุม ภายใน ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัญหาการเข้าตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบประจำปี มีการใช้งบประมาณ จำนวนมากแต่ได้หน่วยรับตรวจน้อย และ (2) การประเมินตนเอง กรณีการส่งผลประเมินในรูปแบบเอกสารและทาง e-mail มีปัญหาและอุปสรรคคล้ายกัน คือ การรวบรวมเอกสาร การตรวจสอบข้อมูล และการคิดคะแนนยุ่งยากหลาย ขั้นตอน มีการส่งเอกสารล่าช้า ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้ ไม่ค้นหาสาเหตุความเสี่ยง และยังมีปัญหาสถานที่เก็บ เอกสารเป็นกระดาษที่มีจำนวนมาก ทำให้การค้นหาเอกสารทำได้ยากและล่าช้า กรณีส่งผลประเมินในรูปแบบ Google form มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบสามารถทำได้เพียงครั้งเดียว ทำให้ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้ รวมทั้งคะแนนผลการประเมินอาจไม่เป็นตามข้อเท็จจริง และไม่สามารถค้นหาสาเหตุ ของความเสี่ยง จากสภาพปัญหาสามารถประเมินประสิทธิผลของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบ และประเมินผล พบว่า ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2565 ดีกว่า ปีงบประมาณ 2564 และบรรลุ เป้ าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีหน่วยงานเข้ารับการตรวจประเมินเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.68 และหน่วยงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดที่ 63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.74 และผู้ใช้มีความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพ แยกเป็นกลุ่ม ผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.14 และ SD = 0.70) และกลุ่มผู้ตรวจสอบภายในระดับ กระทรวงมีความพึงพอใจ ด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58 และ SD = 0.60)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ขอส่งเอกสารการจัดวางระบบการควบคุม ภายใน. เลขที่ สธ 0215.01/ว 2551 (ลงวันที่ 31 มกราคม 2562).

กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง. คู่มือการจัดวางระบบการ ควบคุมภายใน ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานครซ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2565.

สุวินชา การพัดชี. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบการ ควบคุมภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน [อินเทอร์- เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http:// www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/ 123456789/1488

ณฐพร พันธุ์อุดม แนวทางการจัดระบบการควบคุมภายใน ที่ดี. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับบลิชชิ่ง; 2549.

อุษณา ภัทรมนตรี, การตรวจสอบภายในสมัยใหม่: แนวคิด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2547.

กรมบัญชีกลาง กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน. แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายในภาคราชการการตรวจสอบ การดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: กรมบัญชีกลาง; 2558.

ปิยนันท์ เสนะโห. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการ ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 ม.ค. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.pbru.ac.th/pbru/wp-รวมเล่ม งานวิจัยปิยนันท์.pdf

ปรัชญา, ไชยวงศ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศงานวิจัยใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://cmruir.cmru.ac.th/ handle/123456789/1311

สนั่น หวานแท้. การพัฒนาระบบสารสนทศเพื่อการจัดเก็บ และการสืบค้นสำหรับการบริหารงานบุคคล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [การค้นคว้าอิสระอักษรศาสตร์ มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

กัญญา เลิศลดาลักษณ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศ (e-submission) ของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิ- ภาพในการทำงาน [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ