ข้อเสนอแนะการจัดทำเอกสารรับรองสติสัมปชัญญะผู้มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ที่ลำบากในการสื่อสาร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • กำพล เครือคำขาว กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลลำปาง
  • วชิราภรณ์ อรุโณทอง กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลลำปาง
  • โกมินทร์ ยศสาย กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

สมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, ใบรับรองแพทย์, นิติกรรม, ข้อมูลส่วนบุคคล, เจตนาวาระสุดท้าย

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและผู้ทีลำบากในการสื่อสารเพิ่มขึ้นในสังคมสูงอายุ ทำให้มีความต้องการใบรับรองแพทย์ เกียวกับสติสัมปชัญญะ และการแสดงเจตนาของผู้ป่ วยในทางกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้การตรวจและจัดทำรายงานผลตรวจ สติสัมปชัญญะมีความถูกต้อง เหมาะสม ควรมีขั้นตอนการดำเนินการให้ญาติหรือผู้ดูแลจัดทำแบบฟอร์มร้องขอเอกสาร การตรวจสติสัมปชัญญะผู้ป่ วยสมองเสื่อมหรือผู้ที่ลำบากในการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริหารโรงพยาบาลพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้แพทย์สามารถเปิดเผยข้อมูลผู้ป่ วยให้บุคคลอื่นหรือหน่วยงานรัฐได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อประโยชน์ในการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เป็นไปตามหลักจริยธรรมการแพทย์ที่มุ่งให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้ป่วย โดยก่อนการตรวจแพทย์ควรจัดเตรียมเอกสารบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการซักประวัติ เช่น บุคคล วันเวลา สถานที่ เพื่อใช้ในการประเมินสติสัมปชัญญะ และการแสดงเจตนา ในระหว่างการตรวจควรมีการใช้ กล้องหรือวิดิโอบันทึกภาพและเสียง หลังการตรวจควรมีการจัดทำใบรับรองแพทย์ที่โครงสร้างระบุลักษณะผู้ป่วย สติสัมปชัญญะ การวินิจฉัยโรค การรักษา และการแสดงเจตนาของผู้ป่ วย เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลนำเอกสารไปใช้ใน การยื่นคำร้องต่อศาลพิจารณาให้ผู้ป่วยเป็นบุคคลไร้ความสามารถจำต้องมีผู้อนุบาลจัดการทรัพย์สินแทน หรือนำไป ใช้ในการทำนิติกรรมของผู้ป่ วยที่ลำบากในการสื่อสาร โดยสรุปแพทย์ควรตรวจสติสัมปชัญญะผู้มีภาวะสมองเสื่อม และผู้ที่ลำบากในการสื่อสาร เพื่อให้ทราบความสามารถในการแสดงเจตนาและจัดทำใบรับรองแพทย์อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้าน สาธารณสุข) [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค. 2565]. จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/ DATA0000/00000077.PDF

อารดา โรจนอุดมศาสตร์, เจษฎา เขียวขจี, ทัศนีย์ ตันติฤทธิ ศักดิ์ , บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2564.

Wikipedia. Expressive aphasia [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 23]. Available from: https://en.wikipedia. org/wiki/Expressive_aphasia

เกษม ตันติพลาชีวะ, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2536.

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที 109, ตอนที่ 42 (ลงวันที่ 8 เมษายน 2535).

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ที่ 73, ตอนที่ 95 ฉบับพิเศษ (ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2499)

ประกาศแพทยสภา ที่ 12/2555 เกณฑ์ความรู้ความสามารถ ในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม พ.ศ. 2555 [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค.2565]. จาก: http://med.swu.ac.th/th/images/2555.pdf

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. ราชกิจจา นุเบกษา เล่มที 124 ตอนที่ 16ก (ลงวันที่ 19 มีนาคม 2550)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. ราช กิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 69 ก (ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2562).

ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย. หลักสูตรและ เกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความ รู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขา นิติเวชศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค.2565]. จาก: http://www.rcthaipathologist.org/album/pdf/ede55b2a05864570e6bc17499937cded.pdf

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 10 ก (ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551).

Wade DT, Johnston C. The permanent vegetative state: practical guidance on diagnosis and management. BMJ. 1999;319:841-4.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ , บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะ สมองเสื่อม = Clinical practice guidelines: dementia) ฉบับ สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2557.

วิรุจน์ คุณกิตติ. แพทย์กับการทำพินัยกรรมของผู้ป่วย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2542;14(3):202-6.

ประสพโชค อยู่สำราญ. การทำนิติกรรมในหอผู้ป่วย. วารสาร พยาบาลศิริราช. 2550;1(1):87-9.

กำพล เครือคำขาว. คู่มือการออกเอกสารรับรอง สติสัมปชัญญะผู้มีภาวะสมองเสื่อม และผู้ที่ลำบากในการ สื่อสาร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 มี.ค.2566]. จาก: https://drive.google.com/drive/folders/1xS_ w9fR6EvCJ3IimplLdGjRmugIuHusz

วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์. ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมในสถาน พยาบาล. สารศิริราช. 2545;54(11):742-51.

จุฑามาศ แหนจอน. สมองกับอารมณ์: มหัศจรรย์ความเชื่อม โยง. วารสารราชพฤกษ์. 2558;13(3):9-19.

Wikipedia. Wernicke’s area [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 23]. Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/ Wernicke%27s_area

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง