สถานการณ์การปลอมปนสารออกฤทธิ์ลดน้ำหนักในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายในร้านค้าและจำหน่ายผ่านทางออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ภณิดา เอื้อสิริกรกุล สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ประคอง นิลวิเชียร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จริยา สุขผล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, สารออกฤทธิ์ลดน้ำหนัก, สาร locarserin

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตและจำหน่ายมากขึ้น แม้ว่าจะมี การกำกับและควบคุมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีคุณภาพและได้มาตรฐาน แต่ยังคงพบปัญหาการลักลอบใส่สาร ที่มีฤทธิ์ ทางยาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีสรรพคุณตามที่ได้กล่าวอ้างไว้และเห็นผลไว จากข้อมูลการเฝ้ าระวังการปลอมปน ยาในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2559 ยังคงพบการปลอมปน กลุ่มยาลดความอ้วนและกลุ่มยาลดความอยากอาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี จึงศึกษาสถานการณ์การปลอมปนสารออกฤทธิ์ ลดน้ำหนักในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างลดน้ำหนัก ทีจำหน่ายในร้านค้าและจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อทราบสถานการณ์และเป็นข้อมูลทีจะนำไปใช้ในการเฝ้าระวัง รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ประชาชนได้รับผลิตภัณฑ์ทีปลอดภัย ตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 167 ตัวอย่าง แบ่งเป็นจากแหล่งจำหน่าย ในประเทศไทย 118 ตัวอย่าง และจำหน่ายออนไลน์ 49 ตัวอย่าง ผลสำรวจพบว่า ตรวจ พบสารออกฤทธิ์ ลดน้ำหนัก 30 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17.9) แบ่งเป็น ร้านค้าจุดจำหน่ายในประเทศไทย 15 ตัวอย่าง จาก 118 ตัวอย่าง (ร้อยละ12.7) และที่จำหน่ายออนไลน์ 15 ตัวอย่าง จาก 49 ตัวอย่าง (ร้อยละ 30.6) สถานการณ์ การตรวจพบการปลอมปนสารออกฤทธิ์ ลดน้ำหนักในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างลดน้ำหนักที่จำหน่ายออนไลน์มี ความรุนแรงมากกว่าแหล่งจำหน่ายร้านค้าจุดจำหน่าย สารอันตรายที่พบมากที่สุด คือ Sibutramine รองลงมา คือ locarserin ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเฝ้ าระวัง ควบคุม กำกับ ดูแล ผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่จำหน่ายออนไลน์

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 293 พ.ศ. 2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122, ตอนพิเศษ 150 ง (ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2548).

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจพบยาแผนปัจจุบันปนปลอมในอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http:// bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/ 2017/06/27/ 11/

เจษฎา กาศโอสถ, วชิราภรณ์ พุ่มเกตุ, วิสิฐศักดิ์ วุฒิดิเรก. การเฝ้าระวังการปลอมปนสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์กาแฟ ลดน้ำหนัก. รายงานประจำปี 2556 ศูนย์วิทยาศาสตร์การ แพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 19 เม.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com/file/d/1ksGWjvxu4ttLYOu82745vKrWdDd52fZ9/ view

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. จี้ อย. จัดการปัญหา “ไซบูทรามีน” เหตุ พบเกลื่อนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. consumerthai.org/consumers-news/net - work/4208-610628sibutramine.html

Wikipedia. 2-Diphenylmethylpyrrolidine [Internet]. 2018 [cited 2018 Aug 30]. Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/2-Diphenylmethylpyrrolidine

Wood DM, Dargan PI. Use and acute toxicity associated with the novel psychoactive substances diphenylprolinol (D2PM) and desoxypipradrol (2-DPMP). Clinical Toxicology 2012;50(8):727-32.

Corkery JM1, Elliott S, Schifano F, Corazza O, Ghodse AH. 2-DPMP (desoxypipradrol, 2-benzhydrylpiperidine, 2-phenylmethylpiperidine) and D2PM (diphenyl-2-pyrrolidin-2-yl-methanol, diphenylprolinol): a preliminary review. Progress in Neuro-Psychopharmacology & Biological Psychiatry 2012;39(2):253-8.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. พาณิชย์เผย โควิดดันยอดซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น 0.45 เท่า [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 27 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/news_survey-042564.pdf

กรรณิการ์ ชื่นชูผล. อิทธิพลของการยอมรับค่านิยมความผอม ในอุดมคติ และขนาดรูปร่างของนางแบบในงานโฆษณา ต่อ การเกิดความไม่พึงพอใจในรูปร่าง ความภาคภูมิใจในรูปร่าง ตนเอง และการมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549

พัชรีพรรณ ระหว่างบ้าน. เสน่ห์ของความผอม: กระบวนการ จัดการร่างกาย. วารสารสังคมศาสตร์ 2552;21(2):213- 43.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สาวรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยาก มีรูปทรงอย่างสเปี ยร์ส กลัวอ้วน ลงทุนถึงกับอดข้าวปลา [อินเทอร์เน็ต]. 2549 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view. asp

Department of Justice Drug Enforcement Administration. Schedules of controlled substances: placement of lorcaserin into schedule IV [Internet]. 2012 [cited 2022 Oct 27]; 77:75075-9. Available from: https://www.govinfo.gov/content/pkg/FR-2012-12-19/pdf/2012- 30531.pdf

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139, ตอนพิเศษ 182 ง (ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2565).

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 19 ธ.ค. 2563]. แหล่ง ข้อมูล: https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/575

Higdon JV, Frei B. Coffee and health: a review of recent human research. Critical Reviews in Food Science and Nutrition 2006;46(2):101-23.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130, ตอนพิเศษ 87 ง (ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2556).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ