พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับรถพยาบาลฉุกเฉินของพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • นนท์ จินดาเวช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ, พนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้ องกันอุบัติเหตุจากการขับรถพยาบาลฉุกเฉินของพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน จังหวัดสมุทรปราการ และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการ ป้ องกันอุบัติเหตุจากการขับรถพยาบาลฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณเป็นพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 118 คน และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉินในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า พนักงานขับรถพยาบาล ฉุกเฉิน จังหวัดสมุทรปราการ มีพฤติกรรมการป้ องกันอุบัติเหตุในภาพรวมอยู่ระดับสูง ร้อยละ 99.2 และระดับปานกลาง ร้อยละ 0.8 ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้ องกันอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการป้ องกันอุบัติเหตุได้ร้อยละ 51.7 ในขณะทีข้อมูลเชิงคุณภาพ ่ พบว่า พนักงานมีความรู้ ทัศนคติแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้ องกันอุบัติเหตุในระดับสูงเช่นกัน ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลเรื่องความก้าวหน้า ค่าตอบแทนและสวัสดิการให้กับพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน และมีจำนวนที่เพียงพอ ชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม รวมทั้งจัดอบรมในหลักสูตรที่จำเป็นสำหรับพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉินให้พนักงานขับรถที่ปฏิบัติงานใหม่ครบ ทุกคน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ มาตรฐานความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล. นนทบุรี : กองวิศวกรรมการแพทย์. 2556.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวปฏิบัติการ รับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2556.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานการเกิดอุบัติเหตุ รถพยาบาลในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์- ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2557.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานสถานณ์การแพทย์ ฉุกเฉินไทย 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.niems.go.th/th/View/DataService.aspx?Cateld=1117. 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขับรถ พยาบาล. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://hss.moph. go.th/fileupload_doc/2014-11-12-14909149.pdf

นภัสวรรณ พชรธนสาร, วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, พัชนี คะนึงคิด, มาลินี บุณยรัตพันธุ์. สิ่งคุกคามต่อสุขภาพและ อุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงานของคนขับรถปฏิบัติ- การฉุกเฉินในจังหวัดชลบุรี. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(4)1:304-14. .

นภาพร ยอพระกลิ่น, ศิริพร นุชสำเนียง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชนในระบบส่งต่อ (referral system) กรณี- ศึกษา เฉพาะเขตสุขภาพที่ 6. วารสาร มจร พุทธปัญญา ปริทรรศน์ 2563;5(3):67-78.

รัตติยากร ถือวัน, สมคิด ปราบภัย. ประสบการณ์อุบัติเหตุ และพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถ พยาบาล: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการ พยาบาล 2564;37(1):142-55.

กัญตา คำพอ. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเองกับคุณภาพชีวิตการทำงานของ พนักงานขับรถพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16(1):44-52.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ