ความชุกของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยและความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพร่างกายกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในกลุ่มผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว: การศึกษาเบื้องต้นแบบภาคตัดขวาง

ผู้แต่ง

  • ศิวพงษ์ เผ่ากันทะ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สิริกร ศรีนิล ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประพรมพร พินิจมั้ง แผนกกายภาพบำบัด สถาบันโรคทรวงอก
  • ขนิษฐา วัฒนนานนท์ หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ ศูนย์บริการความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

หัวใจล้มเหลว, มวลกล้ามเนื้อน้อย, สมรรถภาพร่างกาย

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ อาการที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ทำให้เกิดอาการและอาการแสดง ทีผิดปกติ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญต่อความทนทานของการออกกำลังกาย สมรรถภาพทางร่างกาย ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและทำให้คุณภาพชีวิตลดลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และความสัมพันธ์ ระหว่างสมรรถภาพร่างกายกับมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้ป่ วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทำการศึกษาในผู้ป่ วยภาวะหัวใจล้มเหลวเพศชายและเพศหญิง อายุเฉลี่ย 57 ปี (อายุ 35-75 ปี ) จำนวน 100 คน ได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ การทดสอบแรงในการบีบมือ การทดสอบวัดมวลกล้ามเนื้อ การทดสอบความเร็วในการเดิน การ ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และการทดสอบด้วยการลุกนั่ง ข้อมูลทั้งหมดถูกนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ ผ่านโปรแกรม SPSS Statistics ศึกษาหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย กลุ่มที่มีความเป็นไป ได้ที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และกลุ่มที่ไม่มีภาวะมวกล้ามเนื้อน้อย ด้วยสถิติ ANOVA และ post hoc tests โดยใช้สถิติ Bonferroni และหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยกับสมรรถภาพร่างกายด้วยสถิติ Spearman rank correlation ผลการศึกษาในผู้ป่ วยหัวใจล้มเหลวพบความชุกของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร้อยละ 15.0 โดยมี โอกาสเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยที่ร้อยละ 12.0 พบความสัมพันธ์ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้ป่ วยภาวะหัวใจล้ม เหลว คือ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ดัชนีมวลกล้ามเนื้อ แรงในการบีบมือ ความเร็วในการเดิน ความแข็งแรงของกล้าม เนื้อหายใจเข้า และการลุกขึ้นยืนจากนั่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าผู้ป่ วยอายุมากมีดัชนีมวล กล้ามเนื้อลายน้อย แรงในการบีบมือน้อย ความเร็วในการเดินลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าที่ลดลง และระยะเวลาการลุกขึ้นยืนจากนั่งทีมากขึ้น รวมถึงพบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที ่ มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยกับสมรรถภาพ ่ ทางร่างกายในผู้ป่ วยภาวะหัวใจล้มเหลว

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์ , ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2562 (Heart Failure Council of Thailand (HFCT): 2019 heart failure guideline). กรุงเทพมหานคร: เนคสเตปดีไซน์; 2562.

McDonagh TA, Metra M, Adamo M, Gardner RS, Baumbach A, Böhm M, et al. ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure. Eur Heart J 2021;42(36):3599-726.

Ariyachaipanich A, Krittayaphong R, Kunjara Na Ayudhya R, Yingchoncharoen T, Buakhamsri A, et al. Heart Failure Council of Thailand (HFCT) 2019 heart failure guideline: introduction and diagnosis. J Med Assoc Thai 2019;102(2):231-9.

Chen LK, Liu LK, Woo J, Assantachai P, Auyeung TW, Bahyah KS, et al. Sarcopenia in Asia: consensus report of the Asian working group for sarcopenia. J Am Med Dir Assoc 2014;15(2):95-101.

Lena A, Anker MS, Springer J. Muscle wasting and sarcopenia in heart failure—the current state of science. Int J Mol Sci 2020;21(18):6549.

Hammond MD, Bauer KA, Sharp JT, Rocha RD. Respiratory muscle strength in congestive heart failure. Chest 1990;98(5):1091-4.

Canteri AL, Gusmon LB, Zanini AC, Nagano FE, Rabito EI, Petterie RR, et al. Sarcopenia in heart failure with reduced ejection fraction. Am J Cardiovasc Dis 2019;9(6):116-26.

Marzetti E, Calvani R, Tosato M, Cesari M, Di Bari M, Cherubini A, et al. Sarcopenia: an overview. Aging Clin Exp Res 2017;29(1):11-7.

Chen LK, Woo J, Assantachai P, Auyeung TW, Chou MY, Iijima K, et al. Asian working group for sarcopenia: 2019 consensus update on sarcopenia diagnosis and treatment. J Am Med Dir Assoc 2020;21(3):300-7.

Tiedemann A, Shimada H, Sherrington C, Murray S, Lord S. The comparative ability of eight functional mobility tests for predicting falls in community-dwelling older people. Age Ageing 2008;37(4):430-5.

American Thoracic Society/European Respiratory Society. ATS/ERS Statement on respiratory muscle testing. Am J Respir Crit Care Med 2002;166(4):518- 624.

Suzuki T, Palus S, Springer J. Skeletal muscle wasting in chronic heart failure. ESC Heart Fail 2018;5(6):1099- 107.

Meyer FJ, Borst MM, Zugck C, Kirschke A, Schellberg D, Kübler W, et al. Respiratory muscle dysfunction in congestive heart failure: clinical correlation and prognostic significance. Circulation 2001;103(17):2153-8.

Emami A, Saitoh M, Valentova M, Sandek A, Evertz R, Ebner N, et al. Comparison of sarcopenia and cachexiain men with chronic heart failure: results from the Studies Investigating Co-morbidities Aggravating Heart Failure (SICA-HF). Eur J Heart Fail 2018;20(11): 1580-7.

Eulster S, Tacke M, Sandek A, Ebner N, Tschope C, Doehner W, et al. Muscle wasting in patients with chronic heart failure: results from the studies investigating co-morbidities aggravating heart failure (SICA-HF). Eur Heart J 2013;34(7):512-9.

Rolland Y, Czerwinski S, Abellan Van Kan G, Morley JE, Cesari M, Onder G, et al. Sarcopenia: its assessment, etiology, pathogenesis, consequences and future perspectives. J Nutr Health Aging 2008;12(7):433-50.

ชิติมา กุลชนะรัตน์, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์. การทบทวน วรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องความชุกและปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563;64(5):333-44.

Konishi M, Kagiyama N, Kamiya K, Saito H, Saito K, Ogasahara Y, et al. Impact of sarcopenia on prognosis in patients with heart failure with reduced and preserved ejection fraction. European Journal of Preventive Cardiology 2021;28(9):1022-9.

Pinheiro PA, Carneiro JAO, Coqueiro RS, Pereira R, Fernandes MH. Chair stand test as simple tool for sarcopenia screening in elderly women. J Nutr Health Aging 2016;20(1):56-9.

Lee K, Davis MA, Marcotte JE, Pressler SJ, Liang J, Gallagher NA, et al. Falls in community-dwelling older adults with heart failure: A retrospective cohort study. Heart Lung 2020;49(3):238-50.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ