ความชุกของภาวะนอนกรนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • ชญานิน ศรีสุข กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำสำคัญ:

ภาวะนอนกรน, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, แบบ Berlin questionnaire

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะนอนกรนในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง การค้นหาภาวะดังกล่าวนำไปการรักษาที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง โดยศึกษาผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคสมอง แผนกผู้ป่ วยนอก โรงพยาบาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2562 ถึงธันวาคม 2564 จำนวน 355 ราย โดยเก็บข้อมูลทางคลินิกจากเวชระเบียนผู้ป่ วยนอก และทำการตอบแบบสอบถาม เรื่องภาวะนอนกรน (Berlin questionnaire) จากนั้นรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 355 ราย สามารถจำแนกเป็นความผิดปกติได้ดังนี้ พบความชุกของภาวะนอนกรนในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (AIS) และโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง เฉียบพลัน (AHS) ร้อยละ 32.7, 31.4 และ 62.8 ตามลำดับ ผู้ป่ วย AIS มีสัดส่วนภาวะนอนกรน ภาวะนอนกรน เสียงดัง ภาวะนอนกรนเป็นครั้งคราว และภาวะนอนกรนเป็นนิสัย มากกว่า ผู้ป่ วย AHS แต่ไม่พบความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปได้ว่า พบความชุกของภาวะนอนกรนประมาณหนึ่งในสามของจำนวนผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. อาการนอนกรน (snoring) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) ตอนที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 2 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=332

Sheldon S, Kryger M, Gozal D, Ferber R. Principles and practice of pediatric sleep medicine: expert consultonline and print. 2nd ed. London: WB Saunders; 2014.

Nasr IH, Seppala M. Scully’s medical problems in dentistry. European Journal of Orthodontics 2014;37(2):231– 1.

Kushida CA, editor. Encyclopedia of sleep. San Diego, CA: Elsevier; 2013.

วิชญ์ บรรณหิรัญ. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นใน ประเทศไทย: ความชุกและความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม เบอร์ลินฉบับภาคภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

Seiler A, Camilo M, Korostovtseva L, Haynes AG, Brill AK, Horvath T, et al. Prevalence of sleep-disordered breathing after stroke and TIA: a meta-analysis. Neurology 2019;92(7):648-54.

Yaranov DM, Smyrlis A, Usatii N, Butler A, Petrini JR, Mendez J, et al. Effect of obstructive sleep apnea on frequency of stroke in patients with atrial fibrillation. Am J Cardiol 2015;115(4):461–5.

สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับ การวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับใน ประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2561.

Sharma S, Culebras A. Sleep apnoea and stroke. Stroke Vasc Neurol 2016;1(4):185–91.

Netzer NC, Stoohs RA, Netzer CM, Clark K, Strohl KP. Using the Berlin questionnaire to identify patients at risk for the sleep apnea syndrome. Ann Intern Med 1999; 131(7):485-91.

Schütz SG, Lisabeth LD, Gibbs R, Shi X, Chervin RD, Kwicklis M, et al. Ten-year trends in sleep-disordered breathing after ischemic stroke: 2010 to 2019 data from the BASIC project. J Am Heart Assoc 2022;11(4): e024169.

Chiu HY, Chen PY, Chuang LP, Chen NH, Tu YK, Hsieh Y-J, et al. Diagnostic accuracy of the Berlin questionnaire, STOP-BANG, STOP, and Epworth sleepiness scale in detecting obstructive sleep apnea: A bivariate meta-analysis. Sleep Med Rev 2017;36:57–70

นิรมล อึ้งตระกูล. ความน่าเชื่อถือของ แบบสอบถาม Berlin ฉบับภาษาไทยในการประเมินความเสี่ยงของภาวะหยุด หายใจขณะนอนหลับในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2011;26 Suppl 1:S102.

Kapur VK, Auckley DH, Chowdhuri S, Kuhlmann DC, Mehra R, Ramar K, et al. Clinical practice guideline for diagnostic testing for adult obstructive sleep apnea: an American Academy of Sleep Medicine clinical practice guideline. J Clin Sleep Med 2017;13(3):479–504.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ