การพัฒนารูปแบบการจัดการการดำเนินงานการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตด้วยอากาศยาน จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การพัฒนา, รูปแบบการจัดการ, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต, อากาศยาน, จังหวัดตากบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤติด้วยอากาศยาน จังหวัดตาก โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์การจัดการดำเนินงานการลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤติ ด้วยอากาศยาน จังหวัดตาก โดยการศึกษาข้อมูลผู้ป่ วยทีถูกลำเลียงทางอากาศทีบันทึกไว้ในระบบสารสนเทศการแพทย์- ่ ฉุกเฉินในปี 2561-2562 และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนารูปแบบการจัดการ การดำเนินงานการ ลำเลียงผู้ป่ วยวิกฤติฉุกเฉินด้วยอากาศยาน จังหวัดตาก โดยการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และ (3) การประเมิน รูปแบบการจัดการการดำเนินงานการลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤติด้วยอากาศยาน จังหวัดตาก ที่พัฒนาขึ้นโดยการ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองใช้รูปแบบการจัดการฯ ผลการศึกษา พบว่า ปี 2561-2562 มีผู้ป่ วยฉุกเฉิน วิกฤติถูกลำเลียงด้วยอากาศยานทั้งหมด 13 รายในจังหวัดตาก โดยมี 7 รายในปี 2561 และ 6 รายในปี 2562 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.6) อยู่ในอำเภอฝั่งตะวันตก ทุกรายมีความรุนแรงระดับ 1 โดยเป็นการออกรับเหตุ ณ จุดเกิดเหตุ 8 ราย (ร้อยละ 61.5) สภาพการณ์การดำเนินงาน การลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤติด้วยอากาศยาน ด้านโครงสร้าง พบว่า ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ มีบุคลากรไม่เพียงพอ บุคลากรจบใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ ในการประสานขอใช้ อากาศยาน ขาดแคลนพาหนะขนส่งผู้ป่ วยก่อนลำเลียงขึ้นอากาศยาน การติดต่อประสานระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุและ สั่งการของจังหวัดกับส่วนกลาง เข้าใจไม่ตรงกัน ด้านกระบวนการทำงาน พบว่า ในการลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤติด้วย อากาศยาน จังหวัดตาก ปี 2561 ต้องมีการติดต่อประสานงานหลายหน่วยงาน ในการพัฒนารูปแบบการจัดการ การ ดำเนินงานการลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤตด้วยอากาศยานจังหวัดตาก ประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการดำเนิน งาน และด้านการตรวจสอบผล/ประเมินผล สำหรับการปรับปรุงในแต่ละด้านจะมีขั้นตอนการดำเนินการก่อนการ ลำเลียง ขณะดำเนินการลำเลียง และหลังการลำเลียง ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยภาพรวม พบ ว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อเปรียบเทียบผลการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า ระยะ เวลาร้องขอจนถึงเฮลิคอปเตอร์ยกตัว หลังพัฒนารูปแบบฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการติดตามผู้ป่ วย หลังการส่งต่อด้วยอากาศยานภายใน 72 ชั่วโมง มีจำนวนผู้ป่ วยรอดชีวิตมากกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ รูปแบบการจัดการการดำเนินงานการลำเลียงผู้ป่ วยฉุกเฉินวิกฤตด้วยอากาศยานจังหวัดตากที่พัฒนาขึ้น ช่วย ลดระยะเวลาการประสานงาน และลดการเสียชีวิตของผู้ป่ วยลงได้
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. สรุปผลการดำเนินงาน ระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดตาก 2560. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2561.
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. รายงานการดำเนินงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 2560. ตาก: โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน; 2561.
ธีรารัตน์ เพ็ชรประเสริฐ, ศิวนาฏ พีระเชื้อ. ปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการเสียชีวิตที่ 24 ชั่วโมง ของผู้ป่วยที่ถูกลำเลียงทาง อากาศโดยโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. ลำปางเวชสาร 2563;41(2):58-67.
Namukasa J. The influence of airline service quality on passenger satisfaction and loyalty: the case of Uganda airline industry. The TQM Journal 2013;25(5):520-32.
เอกลักษณ์ ดีรุ่งโรจน์. การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ: การลำเลียงข้าราชการตำรวจที่เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ.วารสารพยาบาลตำรวจ 2564;13(1): 208-17.
Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. Oxford: Oxford University Press; 2003.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุริยาสาส์น; 2560.
ศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ผลการดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน 2553 – 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 18 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.niems.go.th/tsds/ScrnPub/ performance_detail.aspx?ItemId=1
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การประชุมชี้แจงแนวทาง การจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินทาง อากาศยาน ครั้งที่ 1/2564; วันที่ 22 กันยายน 2564; ห้อง ประชุม 602 ชั้น 6 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, นนทบุรี. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.