การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอัตรากำลังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุนทร ธีรพัฒนพงศ์ กลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • เยาวเรศ ก้านมะลิ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • บุศรินทร์ เขียนแม้น กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • ปิยะณัฐ สำราญรื่น กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, การบริหารอัตรากำลัง, โควิด-19

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบรุนแรงหลายด้าน โดยเฉพาะความต้องการการ รักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ขีดความสามารถของสถานพยาบาลและบุคลากรมีอยู่อย่างจำกัด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์พบบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ COVID-19 ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2565 วันละ 3-8 ราย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.02 เป็น 11.50 ภายในระยะเวลา 1 เดือนเศษ ผู้วิจัยจึงพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารอัตรากำลังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอัตรากำลัง พัฒนาระบบสารสนเทศ นำระบบสารสนเทศไปใช้จริง และศึกษาประสิทธิภาพ ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและ พัฒนาใน 4 ระยะคือ เตรียมการ พัฒนาระบบและทดลองใช้ นำไปใช้จริงและศึกษาผลที่เกิดขึ้น และประเมิน ประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรคำนวณของเครซี่และมอร์แกนจำนวน 113 คน เป็นผู้ใช้และผู้บริหาร ตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก สุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ระบบสารสนเทศเพื่อ การบริหารอัตรากำลัง แบบบันทึกจำนวนครั้งของการใช้ระบบสารสนเทศ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอัตรากำลังฯ ทีพัฒนาขึ้น ่ ประกอบด้วย ส่วนรายงานและส่วนแสดงผล มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอัตรากำลังได้ทันเวลาจำนวน 8 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100.00 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้งานและผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่า เฉลี่ย=4.36, SD=0.82; ค่าเฉลี่ย=4.36, SD=0.78 ตามลำดับ) และคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.52, SD=0.98; ค่าเฉลี่ย=4.60, SD=0.57 ตามลำดับ)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. สถานการณ์โควิด-19 ใน บุคลากรทางการแพทย์ในการแถลงข่าวของ ศบค. วันที่ 9 เมษายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.youtube.com/watch?v=kTYsmceJhgY.

World Health Organization. COVID-19 weekly epidemiological update 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 Jun 14]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiologicalupdate-on-covid-19-14-June-2022

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุม โรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ files/2017420210820025238.pdf

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/gkm/ handout001_12032020.p

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชื่อ และอากาศสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 48 ง (ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).

Sililak S. Thailand’s experience in the COVID-19 response [Internet]. 2020 [cited 2021 Mar 12]. Available from: https://greatermekong.org/thailand%E2% 80%99s-experience-covid-19-response

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/gkm/

นพพล วิทย์วรพงศ์. COVID-19: การต่อสู้ในระบบสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: ไทยพับลิก้า; 2563.

ศูนย์อำนวยการต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จังหวัดกาฬสินธุ์. สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัด กาฬสินธุ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: www.kalasin.go.th

International Council of Nurses. ICN framework of disaster nursing competencies [Internet]. 2009 [cited 2021 Jan 30]. Available from: http://www.wpro.who.int/hrh/ documents/icn_framework.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคโควิด-19 ในบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้น เมื่อ 14 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus. org/content/2022/01/24140

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. สถานการณ์โรคโควิด-19 ในบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 14 มิ.ย. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2020/04/ 19158

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). บุคลากรการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 14 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. hfocus.org/content/2020/04/18981

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. วงจรการพัฒนาระบบ (system development life cycle: SDLC) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 9 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://dol.dip. go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019- 03-15-11-06-29

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30 (3):607-10.

Prosoft HCM. ระบบสารสนเทศในการบริหารทรัพยากร มนุษย์ (HRIS) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: www.prosofthcm.com

Vincent CR, Christine FM. Human resource management system: strategies, tactics and techniques. New York: Lexington Book; 1991.

ภาวิน ชินะโชติ, ทองฟู ศิริวงศ์, ภาณุ ชินะโชติ, ภาวิทย์ ชินะ โชติ, พระมหาทองเชิด กตปุญโญ. ระบบสารสนเทศในงาน ด้านทรัพยากรมนุษย์. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร 2562; (10)1:180-91.

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. เทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRIS) ในการบริหารทรัพยากร มนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์; 2558.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2560.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ